มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

                สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ ที่ 12 - 14)
จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมาจากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตา่งกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฏหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโร
                หลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีดโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฎิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น