มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การบรรยายหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ที่มาวิทยาลัยมหาสารคาม

COPAG มหาวิทยาลัยมหาสารคามย่อมาจาก

ค่านิยมร่วมองค์กร (Shared Values)

            COPAG ย่อมาจาก College of Politics and Governance
C คือ
CREATIVITY การสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจ และศักยภาพของนิสิต คณาจารย์ และบุคลากร ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
O คือ OPTIMIZATION กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
P คือ PRESTIGE ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ ที่เกิดจากบัณฑิตที่มีคุณภาพ และคณาจารย์มีศักยภาพ ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครองสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้อย่างภาคภูมิใจ
A คือ ABILITY ความสามารถในการแข่งขันของวิทยาลัยการเมืองการปกครองและความสามารถของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สามารถก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคง
G คือ GENEROSITY วิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่บัณฑิตของวิทยาลัยการเมืองการกครองต้องเต็มไปด้วย ความมีใจกรุณา มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น และมีใจที่เป็นสาธารณะ ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจึงเป็นกิจกรรมเพื่อสาธารณะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

คณะรัฐศาสตร์ การปกครอง จบมาแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง

- รับราชการ (ได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม) และทำงานรัฐวิสาหกิจ (ทุกแห่ง)
- อาชีพอิสระ
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล

ทั้งหลายทั้งปวง ต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่เราต้องการด้วย เพราะสาขารัฐศาสตร์นั้นเอาไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางและหลากหลายมาก ดังนั้น จึงระบุได้เพียงกว้างๆ ว่าทำงานทางสายไหนได้บ้าง

**เป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งของคนไทยที่มักคิดว่า สาขารัฐศาสตร์นั้นเรียนไปเพื่อเป็นนักการเมือง ซึ่งไม่ใช่เลย เพราะรัฐศาสตร์นั้นเขาไม่ได้สอนวิธีการเป็นนักการเมือง ไม่ได้สอนวิธีเล่นการเมือง หรืออะไรก็ตามที่เราได้รับทราบกันตามสื่อสารมวลชนเลย หากแต่แก่นแท้ของรัฐศาสตร์นั้น คือ การศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง และเดี๋ยวนี้ยังขยายไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐ หรือที่เรียกว่ารัฐประศาสนศาสตร์อีกด้วย

แต่การเป็นนักการเมืองนั้นจะเรียนอะไรมาก็ได้ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคม ไม่จำกัดคุณวุฒิใดๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างของนักการเมืองหลายคนที่มีชื่อเสียงในขณะนี้ และไม่ได้เรียนทางรัฐศาสตร์ เช่น ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนปัจจุบัน ซึ่งเธอจบปริญญาเอกทางด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์จากประเทศอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม หากเราสุ่มรายชื่อนักการเมืองที่ยังโลดแล่นอยู่ในปัจจุบันนี้ขึ้นมาจะพบว่า โอกาสที่จะพบรายชื่อนักการเมืองที่เรียนมาทางรัฐศาสตร์มีเกินกว่า 50%

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

                        ปัจจุบัน
             การศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันมี 2 กระแส กระแสแรกคือสายที่ยังศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์ คือเชื่อมั่นว่าการศึกษาการเมืองผ่านตัวเลข และสถิติมีความมั่นคงเชื่อถือได้ ส่วนอีกกระแสคือสายที่พยายามกลับไปใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา รัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะสาขาวิชาที่เป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) สูงมากสาขาวิชาหนึ่งอย่างไรก็ตามจากการที่ความคิดตระกูลหลังสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อแวดวงวิชาการในทศวรรษที่ 1980 ทำให้วิชารัฐศาสตร์ก็หลีกหนีแนวนิยมนี้ไม่พ้น
             ปัจจุบันการศึกษารัฐศาตร์มิได้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ที่อธิบายสถาบัน และกระบวนการสร้างสถาบันทางการเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยความเข้าใจ “การเมือง” ที่เปลี่ยนแปรไป โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของตระกูลทางความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม (post – structuralism) หรือลัทธิหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดเรื่อง “เทคโนโลยีแห่งอำนาจ (technologies of power)” ของมิแชล ฟูโกต์ นักคิดชาวฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องอำนาจ และการศึกษาการเมือง ปัจจุบันการศึกษาการเมืองจึงไม่ต่างจากการศึกษาแทบทุกสิ่งทุกอย่างที่นักรัฐศาสตร์เห็นว่ามีปฏิบัติการณ์ทางอำนาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง “วินัย และ การลงโทษ : การกำเนิดขึ้นของเรือนจำ (Discipline and Punish: The Birth of the Prison)” ได้เสนอมุมมองใหม่ต่อสิ่งที่เรียกว่าการเมือง และอำนาจอย่างมหาศาล

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

                  สมัยใหม่ตอนปลาย (ราวศตวรรษ ที่ 19 - 20)
              เป็นยุคที่วิชา รัฐศาสตร์มีการศึกษาที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยศึกษา และเรียกการศึกษาการเมืองว่า "รัฐศาสตร์" (political science) เป็นครั้งแรก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนอยู่ในคณะประวัติศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ตราจารย์คนแรกของวิชารัฐศาสตร์คือฟรานซ์ ลีแบร์ (Francis Lieber) นักปรัชญาอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นศาตราจารย์ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
การศึกษาวิชาในยุควิทยาศาสตร์นี้ได้สร้างวิธีการศึกษาการเมืองขึ้นมา นั่นคือการศึกษาการเมืองผ่านการสร้าง ทฤษฎีการเมือง นักรัฐศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่านักทฤษฎีการเมืองจะมองว่าทฤษฎี คือเครื่องมือในการทำความเข้าในสภาพการเมืองโดยรวม ซึ่งผลิตผลของการศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าวจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์สร้างตัวแบบ (model) เพื่ออธิบายความจริง (fact) ที่เกิดขึ้น ในยุคนี้ยังเชื่อว่าการศึกษาการเมืองโดยใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเรื่องพ้นสมัย การศึกษาการเมืองในยุคนี้จึงเน้นศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง แล้วนำมาวัดประเมินค่าในเชิงคณิตศาสตร์และสถิติ จึงเรียนรัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรกว่า สำนักพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)
อย่างไรก็ตามในเวลาช่วง ทศวรรษที่ 1970 - 1980 นักรัฐศาสตร์จำนวนมากก็ตั้งข้อกังขาว่าการเมืองนั้นสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้หรือไม่ การถกเถียงดังกล่าวเกิดในวงวิชาการอเมริกัน อันนำไปสู่การปฏิวัติการศึกษาการเมืองที่พยายามดึงเอาปรัชญา และประวัติศาสตร์กลับมาอีกครั้ง เรียกว่านักรัฐศาสตร์สายหลังพฤติกรรมศาสตร์ (post-behavioralism)

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

               สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการถึงสมัยใหม่ตอนต้น (ราวศตวรรษ ที่ 13 - 19)
การปฏิวัติทางความคิดทางศาสนาคริสต์ การเติบโตขึ้นของแนวคิดมนุษย์นิยม (humanism) ทำให้การศึกษาการเมืองในยุคนี้มีการพูดถึงการเมืองของมนุษย์มากขึ้น โดยปรากฏชัดในงานเขียนเรื่อง "เจ้าผู้ปกครอง" (the prince) ของมาคิอาเวลลี ที่สอนการปกครองอย่างตรงไปตรงมา และในบางเรื่องดูจะโหดร้าย และน่ารังเกียจหากมองด้วยสายตาของผู้ที่เคร่งครัดในจารีตทางความเชื่อแบบมีศีลมีธรรมแบบยุโรป
               การปฏิวัติทางความคิดวิทยาศาสตร์ยุคแรก (the scientific revolution) ส่งผลให้ในยุโรปเกิดกระแสการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาการเมือง โดยปรากฏอย่างชัดเจนในงานเรื่อง เลอไวธัน (Levithan) ของ ฮอบส์ ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมว่าไม่ต่างจากระบบกลไล ที่รัฐคือองคาพยพใหญ่ และมนุษย์คือฟันเฟืองในขณะเดียวกันงานของรุสโซก็สร้างข้อถกเถียงที่สำคัญว่าการศึกษาการเมืองนั้นจะใช้วิทยาศาสตร์หรือปรัชญาดีอิทธิพลทางความคิดดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของแนวคิดทางการเมืองในยุคสมัยใหม่ตอนปลาย และช่วงสงครามเย็นนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

                สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ ที่ 12 - 14)
จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมาจากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตา่งกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฏหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโร
                หลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีดโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฎิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

รศ.สีดา สอนศรี ประธานการจัดงาน การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 มีปาฐถกถาพิเศษ บรรยายพิเศษจากนักวิชาการทั่วทุกภูมิภาค

หลักการและเหตุผล

        ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศหรือนัยหนึ่งคือ กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งตัวอย่างของภาวะดังกล่าว เช่น วิกฤตการณ์ถดถอยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทั่วโลก ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของรัฐและตัวแสดงอื่นๆ ในระบบการเมืองระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ ตลอดจน การเข้าสู่สังคมพหุความรู้ ที่ปรากฏภาพของการปะทะประสานกันระหว่างความคิดที่หลากหลายและความเชื่อที่แตกต่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยบีบรัดให้รัฐต่างๆ ต้องมีการปรับตัว
        ประเทศไทยเองก็มีความพยายามที่ปรับตัวด้วยวิธีการที่แตกต่างหลากหลายเพื่อต่อสู้กับความผันผวนที่เกิดขึ้นจากกระแสของโลกาภิวัตน์ดังกล่าวทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค(อาเซียน) และระดับท้องถิ่นเพื่อการต่อสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์คือ พยายามในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในท้องถิ่นระดับต่างๆ เพื่อให้ชุมชนเหล่านั้นสามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากโลกาภิวัตน์ได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นวิถีทางดังกล่าวยังเป็นแนวทางหนึ่งในการก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและชุมชนที่ยั่งยืนได้
        อย่างไรก็ดี การส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การ “อัดฉีด” หรือการเพิ่มการจัดสรรงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงการสร้างชุมชนทุกระดับตั้งแต่ประเทศจนถึงระดับท้องถิ่นที่กอปรไปด้วยหลักธรรมภิบาล การสร้าง เปลี่ยนแปลงและรักษาวัฒนธรรมต่างๆ ที่ต้องสอดประสานก่อรูปเป็นชุมชนที่สามารถพัฒนาตนเองและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
        ในแง่นี้ ภาระที่ท้าทายของรัฐและระบบราชการ คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายและหลักกฎหมายต่างๆ ในการบริหารประเทศในทุกระดับให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมและวัฒนธรรมได้ โดยไม่สูญเสียสมรรถนะของรัฐต่อการดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์
        โจทย์สำหรับสังคมไทย คือ “สังคมไทยสามารถสร้างชุมชนที่เข้มแข็งทั้งระดับประเทศจนถึงระดับท้องถิ่นภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่?” คำถามหลักนี้เป็นเป้าหมายทางวิชาการที่ชุมชนวิชาการทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่นๆ ในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 11 ต้องร่วมกันค้นหาคำตอบเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้และปัญญาให้กับสังคมในการต่อสู้ภายใต้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
        วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์  ที่มีหลักสูตรครอบคลุมและมีอัตลักษณ์ที่มุ่งเน้นการเป็นขุมปัญญาด้านการเมืองอีสาน การปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น ทฤษฎีและประเด็นทางการเมืองร่วมสมัย นโยบายสาธารณะ  อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงด้านสิทธิมนุษยชน สันติวิธีและการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งสามารถรองรับการประชุมระดับชาติให้บรรลุจุดประสงค์ได

วัตถุประสงค์

          (1) เพื่อเป็นเวทีสำหรับการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และผลงานทางวิชาการระหว่างภาคีสถาบันอุดมศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นเรื่อง การเมืองของรัฐและท้องถิ่นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
          (2) เพื่อค้นหาแนวทาง ทิศทางและกระบวนการการศึกษารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่ครอบคลุมถึงประเด็น    โลกาภิวัตน์ ท้องถิ่น และนโยบาย
          (3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักวิชาการ และระหว่างนักวิชาการกับชุมชน ท้องถิ่น
ผู้รับผิดชอบ
        วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และองค์กรในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

วัน เวลา และ สถานที่
        อาคารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย
        จ.มหาสารคาม วันพฤหัสบดีที่ 25 - วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนประมาณการ 1,000 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
          (1) นักวิชาการทั่วประเทศ เครือข่ายนักวิชาการทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ในภาคอีสาน รวมทั้งนักวิชาการสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
          (2) นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
          (3) นักวิชาการอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันหรือองค์กรต่างๆ
แหล่งสนับสนุนงบประมาณ
        คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และองค์กรร่วมจัดอื่นๆ ในระดับชาติ ภูมิภาคและท้องถิ่น

รูปแบบการประชุม

        เป็นการประชุมทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย การเสวนา การอภิปราย ในประเด็นทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆ รวมถึงการนำเสนอ   ผลงานวิชาการของนักวิชาการชาวต่างประเทศ
การแสดงปาฐกถาพิเศษนำโดย Keynote Speaker ภายใต้ Theme หลักของงานในหัวข้อเรื่อง
โลกาภิวัตน์ ภูมิภาคนิยมและการเมืองไทย (Globalization, Regionalism and Thai Politics)
        กระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อการเมืองในระดับโลกและระดับภูมิภาค ในระดับประเทศไทยต้องแข่งขันกับนานาประเทศและหาลู่ทางในการปรับนโยบายต่างๆให้เข้ากับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์ก็ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับตัวภายใต้ภูมิภาคนิยมในระดับองค์กร (อาเซียน) ทั้งการเมืองเศรษฐกิจและสังคม และภูมิภาคนิยมในระดับท้องถิ่น ในระดับภูมิภาคนิยมขององค์กรอาเซียนไทยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับแนวคิดของสามเสาหลักให้ได้ ในขณะที่ในระดับท้องถิ่นภูมิภาคนิยมก็สร้างปัญหาให้กับการเมืองไทยที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายตามภาคทำให้สังคมไทยอาจละเลยการพัฒนาภายใต้กรอบอาเซียนโดยส่วนรวม จึงเป็นปัญหาในสังคมไทยว่าจะทำให้การเมืองไทยมีเสถียรภาพอยู่ภายใต้โลกาภิวัตน์และภูมิภาคนิยมนี้ได้อย่างไร


การนำเสนอผลงานทางวิชาการ
  1. โลกาภิวัตน์
        กรอบของการศึกษาทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับผลกระทบอย่างยิ่งจากภาวะ โลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากภาวการณ์ดังกล่าว (โลกาภิวัตน์) ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ที่เป็นไปทั้งในทิศทางแห่งความร่วมมือและความขัดแย้ง หรือแม้กระทั่งนำไปสู่สงคราม และเมื่อความสัมพันธ์ระห่างรัฐเปลี่ยนแปลงไป ระบบกฎหมายที่รองรับความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จำต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงระบบกฎหมายระหว่างประเทศและการเคลื่อนไหวของตัวแสดงต่างๆ เพื่อให้กฎหมายภายในรัฐใดรัฐหนึ่งมีความสอดรับ กับหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ
        สิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างของผลกระทบจากภาวะโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวัฒนธรรมทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับรัฐชาติ ระดับภูมิภาคและระดับโลก นอกจากนั้นผลพวงของภาวะโลกาภิวัตน์ยังก่อให้เกิดหรือกระตุ้นให้ “ประเด็นข้ามชาติ” ต่างๆ มีความสลับซับซ้อนมายิ่งขึ้น ซึ่งตัวอย่างของประเด็นข้ามชาติ คือ แรงงานข้ามชาติ คนพลัดถิ่น สิทธิมนุษยชน การก่อการร้าย การเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมระหว่างประเทศ คนชายขอบ เพศสภาพและเพศวิถี เป็นต้น
        จากกรอบข้างต้นนำมาสู่ประเด็นที่ควรมีการถกเถียงอภิปรายในวงการวิชาการภายใต้กรอบ “โลกาภิวัตน์” คือ
          (1) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
          (2) ภูมิภาคนิยมกับทุนไทย
          (3) ประชาคมอาเซียนในปี 2015 : ความร่วมมือและอุปสรรคภูมิภาคนิยมกับทุนไทย
          (4) สิทธิมนุษยชน กับบัญญัติรัฐธรรมนูญไทย
          (5) ระบบกฎหมายระหว่างประเทศและในประเทศที่ต้องปรับตัวเนื่องจากแรงปะทะของภาวะโลกาภิวัตน์
          (6) ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อ (ระบบ) รัฐ ทั้งในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม
          (7) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในศตวรรษที่21
          (8) ประเด็นข้ามชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้ภาวะโลกาภิวัตน์ ที่กระทบต่อไทย เช่น แรงงานข้ามชาติ คนพลัดถิ่น การละเมิดสิทธิชุมชน ประเด็น การก่อการร้าย การเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ระหว่างประเทศ ประเด็นเรื่องคนชายขอบ ประเด็นเรื่องกฎหมายกับเพศสภาพและเพศวิถี เป็นต้น
        ภายใต้ประเด็นหลัก 8 หัวข้อ อาจมีประเด็นย่อยหลายหัวข้อ
2. การเมืองของรัฐและท้องถิ่นไทย
        ในระดับท้องถิ่นเองได้มีความพยายามที่จะปรับตัวด้วยวิธีการที่แตกต่างหลากหลายเพื่อต่อสู้กับ
ความผันผวนที่เกิดจากกระแสของโลกาภิวัตน์ดังกล่าว คือ ความพยายามในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐและชุมชนท้องถิ่นในระดับต่างๆ กัน เพื่อให้รัฐและชุมชนเหล่านั้นสามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์
        อนึ่ง “ท้องถิ่น” ไม่เพียงเป็นกระแสของความนิยมในการศึกษาและการวิจัยทั้งทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ตลอดจนสาขาวิชาอื่นๆ เท่านั้น แต่นัยของประเด็นและความเป็นท้องถิ่น ได้เป็นพื้นที่ของการวิเคราะห์ในระดับหน่วยย่อยที่สะท้อนภาพความเข้มแข็งและรากเหง้าของประเด็นปัญหาทางการเมือง สังคมและการบริหารจัดการรัฐสมัยใหม่ ที่ปรากฏชัดในการบรรจุประเด็นเรื่องท้องถิ่นในแผนพัฒนาและการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติในรอบหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้แล้ว ยังกล่าวได้ว่าท้องถิ่นยังเป็นแหล่งพลังทางปัญญาและตัวชี้วัดของการพัฒนาในมิติต่างๆ สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การให้ความสำคัญกับการสร้างประเด็นทางการศึกษา ข้อถกเถียงและสาระความรู้ที่แสดงออกถึงความก้าวหน้า ความคิดริเริ่มและความน่าสนใจในเรื่องท้องถิ่น ซึ่งนอกจากสาระด้านการเมือง การปกครอง การบริหารจัดการแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน วัฒนธรรม จิตวิญญาณ ศักยภาพและวิถีของชุมชนที่ใช้ในการจัดการด้านต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายกันในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงการประยุกต์และการปรับตัวของท้องถิ่นจากปัจจัยและแรงกดดันจากภายนอก
        จากกรอบข้างต้นนำมาสู่ประเด็นที่ควรเกิดการถกเถียงอภิปรายในวงการวิชาการภายใต้กรอบ “การเมืองของรัฐและท้องถิ่นไทย’’ ได้แก่
          (1) การเมืองไทยรูปแบบใหม่
          (2) บทบาทของสื่อกับการเมืองไทย
          (3) วัฒนธรรมไทยกับรัฐธรรมนูญ
          (4) นิติรัฐกับการสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยไทย
          (5) การเมืองของความยุติธรรมและการจัดการความขัดแย้ง
          (6) การเมืองกับการเลือกตั้งในอีสาน
          (7) ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระสของการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจและชุมชนฐานราก
          (8) ชุมชนเข้มแข็งภาคอีสานภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
          (9) การปรับตัวของท้องถิ่นและโครงสร้างทางสังคมในระดับต่างๆ
          (10) การปรับบทบาทและพัฒนาการในด้านต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง
          (11) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะองค์กรที่ทำหน้าที่รองรับการกระจายอำนาจและส่งเสริมการปกครองตนเอง
          ภายใต้ประเด็นหลัก 11 หัวข้อ อาจมีประเด็นย่อยหลายหัวข้อ
3. นโยบายของรัฐ
        ภาระที่ท้าทายของรัฐและระบบราชการจากประเด็นเรื่องโลกาภิวัตน์และท้องถิ่นภิวัตน์ คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายและหลักกฎหมายในการบริหารประเทศให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม วัฒนธรรมแต่ละพื้นที่หนึ่งๆ ได้ นอกจากนี้ เมื่อนโยบายสาธารณะ คือ รูปธรรมของผลผลิตทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในสังคมทุกระดับ โดยเฉพาะในบริบทสังคมประชาธิปไตยที่กระบวนการนโยบายมีความเกี่ยวข้องกับตัวแสดงทั้งที่มีอำนาจหน้าที่และไม่มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งนำมาสู่ประเด็นทางการศึกษาที่แตกแขนงแยกย่อยออกไปได้อย่างมากมาย จากกรอบข้างต้นนำมาสู่ประเด็นที่ควรเกิดการถกเถียงอภิปรายในวงการวิชาการภายใต้กรอบ “นโยบายของรัฐ” คือ
          (1) รัฐธรรมนูญกับกระบวนการนโยบายสาธารณะ
          (2) การบริหารภาครัฐแนวใหม่
          (3) การปรับตัวขององค์กรภาครัฐในการจัดการปกครอง
          (4) นโยบายสาธารณะกับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกประเทศ
          (5) การเมืองในกระบวนการนโยบาย
          (6) ประชาธิปไตยกับการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ภายใต้ประเด็นหลัก 6 หัวข้อ อาจมีประเด็นย่อยหลายหัวข้อ
4. อื่นๆ         การถกเถียงอภิปรายในประเด็นเชิงปรัชญาการเมืองและทฤษฎีการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจตรวจสอบการปรับตัวและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางปรัชญาการเมืองและทฤษฎีการเมืองกับสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพราะการศึกษาดังกล่าวจะเป็นการสร้างคำอธิบายและการประเมินประสบการณ์ทางสังคมในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆนอกจากนั้นการศึกษาทางปรัชญาการเมืองและทฤษฎีการเมืองทำให้มนุษย์สามารถนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันมาร้อยเรียงเป็นองค์ความรู้และสามารถนำประสบการณ์เหล่านั้นมาเปรียบเทียบหรือแม้กระทั่งสามารถควบคุมประสบการณ์เหล่านั้นได้
        ในแง่นี้ การทบทวนความรู้และความเข้าใจปรัชญาการเมืองและทฤษฎีการเมืองของสำนักคิดต่างๆ จึงความสำคัญ เนื่องจากการทบทวนดังกล่าวจะเปรียบเสมือนเป็น “การชำระ” องค์ความรู้ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมมีส่วนช่วยให้เกิดบรรยากาศของการถกเถียงและแลกเปลี่ยนความรู้ในวงวิชาการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางปัญญาในสังคมต่อไป
        จากกรอบข้างต้นนำมาสู่การประเด็นต่างๆ ดังนี้
        (1) ปรัชญาการเมืองและทฤษฎีการเมืองร่วมสมัย
        (2) การปรับตัวของปรัชญาการเมืองและทฤษฎีการเมืองในยุคสมัยต่างๆ

การนำเสนอผลงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

        ด้วยเหตุที่การจัดการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีเป็นจำนวนมากประกอบกับจำนวนนิสิตินักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก นำไปสู่การจัดให้มีเวทีสำหรับ การนำเสนอผลงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างประสิทธิ ภาพในการผลิตผลงานทางวิชาการของนิสิตนักศึกษา ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายและเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์สำหรับนิสิตนักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รวมทั้งคณาจารย์ที่สอนในหลักสูตรดังกล่าว อันเป็นอีกช่องทางที่จะเป็นการการยกระดับมาตรฐานการศึกษาในการให้บุคคลเหล่านี้มีโอกาสได้นำองค์ความรู้ต่างๆ มาเผยแพร่และแลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่างกัน รวมถึงจะเป็นการช่วยให้เกิดความตื่นตัวทางวิชาการของนิสิต นักศึกษา ในการที่จะศึกษาด้านด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ อีกด้วย
การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบุคคลทั่วไป
        กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการสร้างความสนใจของผู้ร่วมงานประชุม ด้วยการจัดกิจกรรมการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบุคคลทั่วไป ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้ถือเป็นการสนับสนุนและพัฒนาความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะหรือสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

นิทรรศการ
        เป็นการจัดนิทรรศการเพื่อให้ประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้ ประชาสัมพันธ์องค์กรและกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการ ซึ่งจัดขึ้นภายในอาคารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
          (1) อาเซียนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
          (2) “11 ปีของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย กับ 11 ปีของพัฒนาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ไทย”
          (3) ผลงานของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
          (4) “ชุมชน ท้องถิ่นอีสานกับรากฐานในการพัฒนาประเทศ” โดยความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          (5) การแนะนำหลักสูตรรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ

การประชุมโต๊ะกลมเครือข่ายคณบดีรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

        การประชุมและพบปะกันระหว่างคณบดีหรือผู้แทนจากคณะหรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ และ รัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อทำความรู้จัก รวมทั้งสร้างและพัฒนาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษา รวมไปถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างประชาคมวิชาการและวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์   ต่อไป


การสมัครเข้าร่วม ประชุม ส่งบทคัดย่อและบทความ
 
      1. การส่งใบสมัครเข้าร่วม
          - แบบ Online ที่เมนูการลงทะเบียนที่เว็บไซต์ http://www.copag.msu.ac.th/undefined/pspa
          - ทางไปรษณีย์ ถึง อาจารย์สิรกุล สุวินทวงศ์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
          - ทางโทรสารหมายเลข 0-4375-4137
      2. ส่งบทคัดย่อและบทความ ที่ e-mail : copag@msu.ac.th This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it
      3. กำหนดการปิดรับสมัคร
          - สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2553
          - สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ไม่นำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2553
การเสนอผลงาน
      1. แบบบรรยาย (Oral Presentation)
          - ให้นำเสนอ Microsoft Power Point
          - นำเสนอเป็นภาษาไทย
          - ส่งบทคัดย่อเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษและบทความฉบับเต็ม ส่งภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2553

      2. แบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) 
          - ให้จัดทำโปสเตอร์กว้าง 80 ซ.ม. x ยาว 100 ซ.ม.
          - ส่งบทคัดย่อเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษและบทความฉบับเต็ม ส่งภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2553

รูปแบบบทคัดย่อ
      1. ต้นฉบับบทคัดย่อจัดทำลงกระดาษ ขนาด A4 พิมพ์บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 1 หน้า โดยใช้ตัวอักษร Angsana New 14 (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
      2. รายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
ตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup)
  • ขอบบน (Top) 2.54 ซ.ม.
  • ขอบล่าง (Bottom) 2.54 ซ.ม.
  • ขอบซ้าย (Left) 3.17 ซ.ม.
  • ขอบขวา (Right) 3.17 ซ.ม.
      3. ชื่อเรื่อง
            : ภาษาไทย พิมพ์ด้วยอักษรเข้ม Angsana New 16
            : ภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยอักษรเข้ม Angsana New 16 และตัวนำทุกตัวเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters)
      4. ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน/ ผู้วิจัย
            : ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยอักษรเข้ม Angsana New 14 ใช้สัญลักษณ์ * หลังนามสกุลผู้เขียน และอ้างตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)ไว้ใน Footnote ด้านล่างตัวอักษรเอียง Angsana New 12
      5. ส่วนของเนื้อหา (Angsana New 14)
      6. ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน/ ผู้วิจัย
            : ภาษาไทยและภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษรเอียง Angsana New 12 และอ้างไว้ใน Footnote โดยใช้สัญลักษณ์ **

      7. คำสำคัญและ Keywords ไม่เกิน 4 คำ (Angsana New 14 อักษรเข้ม)

การส่งบทความเพื่อส่งเป็นเอกสาร
Proceeding ภายหลังการประชุมเสร็จ
        ท่านสามารถส่งต้นฉบับได้ที่โต๊ะลงทะเบียน ภายใต้หัวข้อดังนี้
หน้าปก 
          - ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) (ภาษาอังกฤษ)
          - ชื่อผู้เขียน / ผู้ร่วมเขียน / ผู้วิจัย / ผู้ร่วมวิจัย
          - หน่วยงานที่สังกัด , หมายเลขโทรศัพท์
เนื้อหาสำหรับงานวิจัย 
          - ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
          - วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          - วิธีการดำเนินการวิจัย
          - ผลการวิจัย
          - สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ
          - บรรณานุกรม
เนื้อหาสำหรับบทความธรรมดา 
          -ชื่อเรื่อง
          -เนื้อหาบทความ
          -สรุป
          -บรรณานุกรม

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์ (Approaches in Political Science)

แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์ (Approaches in Political Science)

     ด้วยประการที่เป้าหมายหลักของการศึกษารัฐศาสตร์คือ การแสวงหาหนทางหรือการที่จะทำความเข้าใจ (understanding) ถึงที่มาและความเป็นไปของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมือง เพื่อที่จะหาคำอธิบายและคาดการณ์แนวโนม้ของปรากฎการณ์ดังกล่าวในอนาคต ไม่ว่าจะมีการนำความรู้ด้านนี้ไปใช้เพียงใด หรือไม่ และเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตามการที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมืองได้อย่างชัดเจนนั้น จะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์เป็นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ ด้วยการชี้ให้เห็นถึงระดับ ประเภทและทิศทางของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ในภาวะการณ์หนึ่ง อันทำให้เข้าใจได้ว่าปรากฎการณ์ทางการเมืองนั้นคืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร 31 หรือกล่าวได้ว่า นักรัฐศาสตร์จะใช้แนวทางการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นกรอบความคิด (Conceptual Framework) สำหรับการมองขอบข่าย สาระ และปัญหาของเรื่องรวมหรือปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เขาสนใจ

     ความพยายามที่จะทำความเข้าใจและอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองนี้ ได้ก่อให้เกิดแนวทางการศึกษาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ขึ้นมาอย่างหลากหลาย เริ่มจากแนวทางที่เก่าแก่ที่สุดคือการนำแนวคิดเชิงปรัชญามาใช้พิจารณาและเลือกเป้าหมายทางการเมืองเพื่อเป็นแนวทางการปฏฏิบัติให้เกิดความสัมฤทธ์ผลในเป้าหมายยั้น นอกจากนี้ยังได้แก่ แนวคิดเชิงอำนาจ แนวคิดเรื่องสถาบัน แนวคิดในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะ เป็นต้น 32 ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีกรอบการมองและวิเคราะห์การเมืองแตกต่างกันลงไปในหลักการและรายละเอียด ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป

     นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ทั้งหลายต่างเห็นพ้องกันว่า ในการศึกษารัฐศาสตร็ซึ่งได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณนั้น มิได้มีเพียงแนวทางการวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาแบบหนึ่งแบบใดที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป แม้อาจปรากฎว่าแนวทางการศึกษาวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาบางอย่างจะได้รักความนิยมในแง่ที่ถูกนำมาใช้เป็นรูปแบบหรือแนวทางในการศึกษากันอย่างกว้างขวาง แล้วแต่ความพยายามของนักรัฐศาสตร์แต่ละยุคแต่ละสมัยที่ต้องการจะทำความเข้าใจการเมืองในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิตมนุษย์ รวมทั้งการอธิบายและการนำเอาเหตุผล ข้อเท็จจริงไปสรุปเพื่อสร้างรูปแบบและแนวความคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น

     แนวทางการศึกษาวิเคราะห์ (approach) หมายความได้ว่า เป็นวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณาสืบสาวราวเรื่องหรือตรวจสอบในเรื่องการเมือง 33 ซึ่งแตกต่างไปจากระเบียบวิธีการศึกษา (method) ที่หมายความถึงวิถีทางที่คน ๆ หนึ่งใช้ไนการศึกษา ไม่ว่าจะมีนิยามหรือคำจำกัดความ (definition) หรือแนวทางในการวิเคราะห์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่เป็นระบบหรือไม่ หรือมีการสร้างแบบจำลองหรือตัวแบบ (mode) ของการศึกษาไว้หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี พบว่า นักวิชาการยังมีความเห็นแตกต่างกันไปบ้างเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ อันเป็นผลมาจากมุมมองหรือทัศนะในการพิจารณาภูมิหลังของรัฐศาสตร์แต่ละแนวทางการศึกษา ซึ่งผู้เขียนได้นำมารวบรวมไว้ และขอทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า คำว่า “แนวทางการศึกษาวิเคราะห์” “แนวทางการศึกษา” “แนวทางการวิเคราะห์” แม้จะแตกต่างกันบ้างในเนื้อความ แต่ก็หมายความถึงประการเดียวกันคือ แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์หรือแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมือง นั่นเอง

     เดวิด อี แอพเตอร์ (David E. Apter) ในหนังสือเรื่อง “Introduction to Political Analysis” ตีพิมพ์ในปี 1977 ได้แบ่งแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมืองออกเป็น 6 แนวทาง ดังนี้

     1. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบปรัชญาการเมือง (Political Philosophy)

     แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ ถือได้ว่าเป็นแนวทางที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากปรัชญาสมัยกรีกโบราณ สาระสำคัญของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เป็นการพิจารณาถึงรูปแบบการปกครองที่ดี มีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งที่จะแสวงหาแนวทางการปรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้ใกล้เคียงสอดคล้องกับคุณค่าหรืออุดมคติที่ดีงามตามทัศนะของนักปรัชญาการเมืองโบราณ แนวทางการวิเคราะห์ของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น เพลโต้ อริสโตเติ้ล เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีส่วนในการเสนอแนะแนวทางในการพิจารณาที่มีผลสืบเนื่องมาสู้นักรัฐศาสตร์ในสมัยปัจจุบันได้แก่ สเตราส์ (Leo Strauss) ที่เห็นว่า กิจกรรมทางการเมืองโดยธรรมชาติเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับค่านิยม

     2. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับรัฐ

     แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 จากอิทธิพลแนวคิดของมาเคียเวลลี่ (Machiavelli) ซึ่งมองสภาพความเป็นจริงทางการเมืองและได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับชนชั้นนักปกครองขึ้นมา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เรื่องรัฐนี้ได้รับการปรับปรุงไปตามบริบทของสังคมโดยเน้นในเรื่องโครงสร้างแห่งกฎเกณฑ์ที่เป็นทางการตามรัฐธรรมนูญ หรือมองรัฐในแง่กฎหมายมากขึ้น โดยเน้นถึงการกำเนิดรัฐและรูปแบบลักษณะของรัฐ

     3. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงสถาบันการเมืองการปกครอง

     แนวทางแบบนี้ เน้นในเรื่องของที่มาแห่งอำนาจและการแบ่งแยกอำนาจ โดยการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญและรูปแบบการปกครองและสถาบันในการปกครองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันฝ่ายบริหาร และสถาบันตุลาการ รวมทั้งเน้นไปที่การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น คาร์ล ฟรีดริช (Carl J. Friedrich) ในหนังสือเรื่อง “Constitutional governent and politics” ตีพิมพ์ในปี 1937 กล่าวว่า แนวทางการวิเคราะห์การเมืองแบบนี้ มักถูกนำไปใช้ในการศึกษาการปกครองเปรียบเทียบ

     4. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับอำนาจ

     แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แนวนี้ ได้ให้ความสำคัญของการเมืองว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจ อันเป็นการกำหนดการมีส่วนร่วมในเรื่องอำนาจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะที่มนุษย์พยายามไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งอำนาจเพื่อการตัดสินใจ และบังคับให้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจ และในแนวคิดนี้ รัฐมิใช่โครงสร้างที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และกฎหมาย แต่เป็นโครงสร้างของกลุ่มต่าง ๆ ที่แข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและเครื่องมือของรัฐ และจะเห็นได้ว่าแนวทางการศึกษาแบบนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย กระทั่งช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวการศึกษาวิเคราะห์เชิงอำนาจได้ขยายความสนใจไปศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างบุคคลกับชุมชนมากข้น อันมีส่วนทำให้รัฐศาสตร์เข้าใกล้ชิดกับสังคมศาสตร์มากขึ้นไปโดยปริยาย

     5. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการตัดสินใจและนโยบายสาธารณะ

     แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แนวนี้ มองว่ารัฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการตัดสินใจและเรื่องนโยบายสาธารณะ ซึ่งได้ก่อรูปขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 จุดสำคัญของแนวการศึกษาวิเคราะห์นี้กล่าวได้ว่าประกอบด้วย การเน้นที่กระบวนการตัดสินตกลงใจ (process of decision-making)และการเน้นที่เนื้อหานโยบาย (policy content)

     ภายหลังปี 1945 เมื่อวิธีการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ได้รับความนิยมมากขึ้นในวงการรัฐศาสตร์ ได้มีส่วนผลักดันให้แนวการศึกษาวิเคราะห์ที่เน้นกระบวนการตัดสินตกลงใจในแนวแรก บดบังความสำคัญของการเน้นในเรื่องเนื้อหานโยบาย ซึ่งเป็นความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นเรื่องการประเมินค่าและการเสนอแนะนโยบาย และหลีกเลี่ยงประเด็นข้อถกเถียงถึงความเป็นกฎเกณฑ์อันเป็นสากลเชิงศาสตร์ แต่กระนั้นก็ดี การศึกษาเนื้อหานโยบายก็ได้รับความสนใจจากนักรัฐศาสตร์บางส่วนมรามุ่งศึกษาผลลัพธ์ต่อสังคมของนโยบาย (policy outcomes) มากขึ้น

     6. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงระบบการเมือง

     แนวทางนี้ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1950 โดยเป็นความมุ่งหมายที่จะมองการเมืองให้กว้างไปจากการศึกษาเฉพาะเรื่องของรัฐและเรื่องของสถาบันทางการเมืองการปกครอง ด้วยการพยายามสร้างทฤษฎีไปใช้ในการวิเคราะห์การเมืองได้ไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก โดนมุ่งเน้นศึกษาเรื่องกระบวนการทางการเมือง การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของระบบการเมือง มากกว่าโครงสร้างหรือสถาบันทางการเมือง

     สนธิ เตชานันท์ ได้จำแนกแนวทางการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ไว้เป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย

     1. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เชิงนโยบาย (policy approach)

     แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ พิจารณาการเมืองในแง่กระบวนการกำหนดนโยบาย ด้วยการนำแนวคิดเชิงระบบ (system analysis) มาศึกษา อธิบายรวมทั้งเป็นแนวทางการปรับปรุงกระบวนการนำเข้า (input) ส่วนที่ทำหน้าที่แปลงสิ่งนำเข้า (conversion) ส่วนนำออกจากระบบ (output) และส่วนย้อนกลับ (feedback) โดยมีความมุ่งหมายที่จะทำความเข้าใจและอธิบายการดำเนินการของกระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวจากการสังเกตผลการดำเนินงานเท่าที่จะสามารถกระทำได้ อันเป็นผลให้รัฐศาสตร์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิชาที่เน้นในเรื่องนโยบายศาสตร์

     2. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงอำนาจ (power approach)

     แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เห็นว่า อำนาจ (power) และการต่อสู้แข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ เป็นแก่นสารัตถะหรือเนื้อแท้ของการเมือง ซึ่งแตกต่างไปจากแนวทางการวิเคราะห์เชิงนโยบายอย่างมาก เนื่องจากมิได้ให้ความสนใจมองว่าการเมืองเป็นกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนตามตัวแบบระบบ (systems model) แต่การเมือง เป็นการต่อสู้แข่งขันและการแสดงออกเชิงอิทธิพลของคนหรือกลุ่มคนที่ครอบงำต่อการทำงานของระบบการเมือง ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิเคราะห์การเมืองแนวนี้ จึงมีสาระสำคัญในการศึกษาถึงประเด็นการได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการคงไว้ซึ่งอำนาจทางการเมืองโดยเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุดในการทำความเข้าใจและอธิบายถึงคงามพ่ายแพ้และชัยชนะทางการเมืองได้

     3. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงศิลธรรมหรือเป้าหมาย (moral and goals approach)

     แนวทางการศึกษาแบบนี้ มิได้ให้ความสนใจต่อกระบวนการของระบบการเมืองและอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกับแนวทาง 2 แนวทางที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เป็นการพิจารณาถึงทิศทางและเป้าหมายของการเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะทางศิลธรรม รูปแบบพื้นฐานของความชอบ ความถูกต้อง และความเหมาะสมทางการเมือง ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดของขอบเขตอำนาจทางการเมือง อันดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักต่อการทำความเข้าใจ และมักปรากฎว่ามีนักรัฐศาสตร์จำนวนน้อยที่เห็นด้วยกับแนวทางการศึกษาแนวนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เชิงนโยบายและเชิงอำนาจเช่นที่ได้กล่าวถึงแล้ว

     กล่าวโดยสรุป จากแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่เก่าแก่ซึ่งเกิดขึ้นมาควบคู่กับสังคมมนุษย์ในยุคสมัยที่เริ่มมีการรวมกลุ่มปกครองตนเองและสังคมอย่างชัดเจน นับย้อนไปได้ถึงยุคกรีกโบราณเมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว โดยเป็นวิชาที่ศึกษาถึงลักษณะและวัตถุประสงค์และการจัดองค์กรของรัฐ รวมถึงระบบการเมืองการปกครองและสถาบันเกี่ยวกับการเมืองการปกครองโดยได้วิวัฒนาการเชิงลักษณะวิชาผ่านยุคสมัยที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และยุคสมัยใหม่ ดังที่ได้แบ่งยุคการศึกษารัฐศาสตร์ให้เห็นกันไปแล้ว กระนั้น วิวัฒนาการของการศึกษารัฐศาสตร์ดังกล่าว ก็ล้วนแล้วแต่กำเนิดเกิดขึ้นและเป็นไปในบริบทของสังคม และเติบโตไปตามพลังทางเศรษฐกิจการเมืองของสังคมตะวันตก เนื้อหาสาระของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ก็ได้แตกต่างกันไปตามสภาวะการณ์ปัญหาทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยตามทัศนะของนักคิดนักปรัชญาการเมืองในยุคนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ที่แตกต่างกันหลากหลายดังกล่าว นักวิชาการรัฐศาสตร์บางรายหรือบางสำนักจึงอาจนิยมชมชอบแนวทางการศึกษาแนวใดแนวหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในขณะที่หลายรายอาจนำเอาแนวทางการศึกษาหลายแนวมาผสมผสานกัน ซึ่งได้ส่งผลให้ขอบเขตของการศึกษากว้างขวางออกไป ในบางยุคสมัย แนวทางการศึกษาหนึ่งอาจได้รับความนิยมอย่างโดดเด่น ในขณะที่บางแนวการศึกษาอาจไม่ได้รับการยอมรับและถูกต้องวิพารษ์วิจารณ์ถึงความถูกต้องเหมาะสมต่อการนำเอามาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ดังเช่น แม้รัฐศาสตร์ยุคใหม่จะนิยมแนวทางการศึกษาแบบประจักษ์นิยมเชิงตรรก (logical positivism) ซึ่งเป็นแนวทางและระเบียบวิธีการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์อย่างหนึ่งที่ไม่มีการตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดี หรือปราศจากค่านิยมต่อสิ่งที่ศึกษา ( value-free judgement) และมีความเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความเป็นเหตุเป็นผล (casuality) และความเป็นจริงของสิ่งที่นำมาศึกษา หรือที่เรียกกันว่า “การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)” ที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ในระยะต่อมา ได้มีนักรัฐศาสตร์ยุคใหม่ได้โต้แย้งว่า ท้จริงแล้วรัฐศาสตร์ที่ปราศจากคุณค่าหรือค่านิยม และอคติ อันเป็นสาระสำคัญของการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมนิยมนั้น หาได้เป็นความจริงแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากการเลือกประเด็นที่จะศึกษาก็เป็นการตัดสินใจที่แฝงคุณค่าหรือค่านิยมต่อเรื่องนั้นอยู่แล้ว เช่น การศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองโดยละเลยที่จะพิจารณา บทบาทของรัฐ นโยบายของรัฐและรูปแบบทางการเมืองการปกครอง ก็ย่อมเป็นข้อสรุปเบื้องต้นอย่างกลาย ๆ อยู่แล้วว่า ผู้ศึกษามองรูปแบบการปกครองของรัฐนั้นว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องของการแสดงฝักฝ่ายในการศึกษาอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การที่รัฐศาสตร์ล้วนพัวพันกับอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองการปกครองและการแบ่งสรรผลประโยชน์หรือคุณค่าต่าง ๆ ในสังคม ก็ยังป็นสิ่งที่สะท้องให้เห็นว่าความเป็นกลาง (neutrality) และความเป็นศาสตร์ (science) อย่างแท้จริงของรัฐศาสตร์แนวพฤติกรรมนิยมนี้ หาได้เป็นเช่นดังที่ เนวิล จอห์นสัน (Nevil Johnson) กล่าวไว้แต่อย่างใดเลย

     แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันในวงวิชาการรัฐศาสตร์ว่า แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์นั้น พอจะแบ่งออกได้เป็น 6 แนวทางใหญ่ ๆ คือ

     1. การศึกษาเรื่องรัฐบทบาทและหน้าที่ของรัฐ

     2. การศึกษาเรื่องสถาบันทางการเมืองและการปกครอง ที่มาแห่งอำนาจ การบ่งสรรอำนาจและรูปแบบการปกครอง

     3. การศึกษาเรื่องอำนาจ ผู้ครอบอำนาจ การใช้อำนาจหน้าที่

     4. การศึกษาเรื่องการตัดสินตกลงใจและนโยบายสาธารณะ

     5. การศึกษาเรื่องพฤติกรรมทางการเมือง ช่น การรวมกลุ่ม การลงคะแนนเสียง และทัศนคติทางการเมือง

     6. การศึกษารัฐศาสตร์โดยพิจารณาถึงปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่เรียกว่า สังคมวิทยาการเมือง (Political Sociology) และ เศรษฐกิจการเมือง (Political economy)

     ระเบียบวิธีการศึกษารัฐศาสตร์ (Methodology in Political Science)

     ดังได้กล่าวไปแล้วว่า ระเบียบวิธีการศึกษา หมายความถึง วิถีทางที่คน ๆ หนึ่งใช้ในการศึกษา ไม่ว่าจะนิยามหรือคำจำกัดความ หรือแนวทางในการวิเคราะห์ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่เป็นระบบหรือไม่ มีการสร้างแบบจำลองหรือตัวแบบของการศึกษาไว้หรือไม่ก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาแต่ละแบบที่มีอยู่ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้นักรัฐศาสตร์สามารถทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการเมืองได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น เกิดความรู้ความเข้าใจที่เที่ยงตรง และเนื่องจากรัฐศาสตร์มิได้กล่าวถึงเพียงแต่เรื่องการเมืองการปกครองประการเดียว แต่ยังหมายความกว้างถึงการศึกษาเกี่ยวกับการแจกแจงคุณค่าในเชิงอำนาจ การบริหารและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของสังคมรัฐศาสตร์นอกจากที่ต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะแล้ว ยังเป็นการสานความรู้หรือประสมประสานบูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านอื่น อาทิประวัติศาสตร์ เศรษศาสตร์ การจัดการมนุษยวิทยา เป็นต้น ประกอบเข้าไปด้วย ในอันที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่ศึกษาเรื่องรัฐศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน เป็นไปอย่างแตกฉานยิ่งขึ้น

     ระเบียบวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์หากพิจารณาตามนิยามที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ก็กล่าวได้ว่าระเบียบวิธีการศึกษาเกิดขึ้นมาตั้งแต่แรกเริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองนั่นเอง เพียงแต่แตกต่างกันไปบ้างตามจุดเน้นของแต่ละวิธี ซึ่งพิจารณาได้จากงานเขียนของ สนธิ เตชานันท์ (2543, 9-17) ซึ่งได้จำแนกไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

     1. แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์แบบเก่า (Traditional political science)
     แนวการศึกษาแบบนี้ประกอบไปด้วยระเบียบวิธีการศึกษาหลายแบบ แต่ละแบบก็แตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้

     1.1 แบบปรัชญาการเมืองคลาสสิค (Classical political philosophy)แนวทางการวิเคราะห์แบบนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ การประเมินค่าสิ่งที่นักปรัชญาการเมืองสนใจ ประกอบกับการใช้วิธีการอนุมานหรือคาดคิดเอาด้วยเหตุด้วยผลเท่าที่มีอยู่ว่าการเมืองคืออะไร ระบบการปกครองที่ดีที่สุด ผู้ปกครองที่ดีที่สุดควรจะเป็นอย่างไร ดังที่ได่กล่าวไปแล้วในเรื่องแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการเมือง

     1.2 แบบประวัติศาสตร์ (Historical method)แนวทางการศึกษาแบบนี้ได้เริ่มต้นขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ใน สหรัฐอเมริกาและยังคงใช้กันมากในปัจจุบัน โดยนักรัฐศาสตร์เชื่อกันว่ารัฐศาสตร์มีต้นกำเนิดมาจากสาขาวิชาประวัติศาสตร์ หรือเป็นวิชาประวัติศาสตร์การเมืองซึ่งรวมตลอดถึงประวัติพรรคการเมือง ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และประวัติความคิดทางการเมืองที่สำคัญต่าง ๆ และเห็นว่าวิธีการศึกษาแบบนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจความเป็นจริงของสถาบันการเมืองต่าง ๆ ได้อย่างถ่องแท้

     1.3 แบบกฎหมาย (Legalistic method)แนวทางการศึกษาแบบนี้ถือว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่การศึกษาในเรื่องการเมืองกับกฎหมายหรือระบบกฎหมายมีความเกี่ยวพันกัน และได้กลายเป็นสิ่งที่วางพื้นฐานการศึกษารัฐศาสตร์อเมริกันที่พิจารณาว่า รัฐศาสตร์แท้จริงแล้วคือการศึกษาระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

     1.4 แบบวิเคราะห์สถาบัน (Institutional analysis method)แนวทางการวิเคราะห์แบบนี้เกิดขึ้นจากความตระหนักของนักรัฐศาสตร์ว่าการเมืองเป็นสิ่งที่มากไปกว่าระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้มีการพูดถึงการเมืองตามความเป็นจริงและเพียนงพ่อต่อการทำความเข้าใจรัฐศาสตร์ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้จากวิธีการศึกษาแบบกฎหมายและประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์สถาบันการเมืองจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้นักรัฐศาสตร์มองเห็นหรือได้ศึกษาเกี่ยวกับความป็นจริงทางการเมืองมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี จุดมุ่งหมายของวิธีการศึกษาแบบนี้มีลักษณะสำคัญของการพรรณารายละเอียดสถาบันทางการเมือง อำนาจ บทบาทและหน้าที่ของประธานาธิบดี ด้วยวิธีการสังเกตที่ไม่ลึกซึ้ง ที่มิใช่การอธิบายระบบการเมือง

     2. ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงพฤติกรรมนิยม (Behavioralism)

     ภายหลังที่นักรัฐศาสตร์ได้หันเหความสนใจไปศึกษาการเมืองในเชิงวิเคราะห์มากขึ้น เพื่อจะยกฐานะของวิชารัฐศาสตร์ให้ทัดเทียมกับวิชาสังคมศาสตร์อื่น ๆ พร้อมกับความก้าวหน้าทางระเบียบวิธีการศึกษาหลายอย่างที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ได้ก่อให้การศึกษาวิชารัฐศาสตร์หันเหความสนใจจากเดิมที่เป็นการอนุมานหรือการประเมินค่าสิ่งที่ศึกษาตามความเห็นหรือทัศนะของนักรัฐศาสตร์ เช่นที่นักวิชาการบางท่านเรียกว่าเป็น “การคาดคิดไปตามอำเภอใจ” ซึ่งได้รับการวิพากษ์ถึงความน่าเชื่อถือในแง่ความเป็นศาสตร์ที่สามารถนำมาอธิบายการเมืองได้อย่างกว้างขวางถูกต้อง ได้เป็นสิ่งผลักดันให้รัฐศาสตร์นำเอาเทคนิควิธีศึกษาเชิงศาสตร์อันได้แก่วิธีการเชิงปริมาณ การรวบรวมข้อมูลที่พิสูจน์ได้ สนใจปรากฎการณ์ที่สังเกตได้ การวัดที่มีความถูกต้องแม่นยำ การวิเคราะห์อย่างมีระเบียบวิธีและอ้างอิงทฤษฎี โดยเชื่อว่าทฤษฎีและผลของการค้นพบที่นำไปสู่ข้อสรุป จะช่วยเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของรัฐศาสตร์ทุกสาขา มาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์ไปด้วย โดยแนวทางการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมด้านหนึ่งได้แก่การเน้นในการศึกษาพฤติกรรมของผู้ดำเนินการทางการเมืองเป็นสำคัญ ที่มักจะปฏิเสธแนวทางแบบวิเคราะห์สถาบัน ซึ่งนักรัฐศาสตร์บางท่านเช่น เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้เรียกร้องให้นักรัฐศาสตร์หันมาสนใจศึกษาเกีย่วกับกิจกรรมทางการเมืองมากกว่าการศึกษาสถาบันทางการเมือง

     3. ระเบียบวิธีการศึกษายุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-behavioralism)

     วิธีการศึกษาแบบนี้มีที่มาจากการที่นักวิชาการรัฐศาสตร์รุนใหม่ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ไม่ยอมรับระเบียบวิธีการศึกษาแบบพฦติกรรมนิยมที่ยึดมั่นวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากเกินไ ป โดยวิภาควิจารณ์หรือกลับเคลื่อนไหวปฎิรูปวิชารัฐศาสตร์หรือเป็นยุคที่เรียกว่า “การปฏิวัติยุคหลังแนวการศึกษาเชิงพฤติกรรม (the Post-behavioralism Revolution)” โดยสาระสำคัญในแนวคิดของนักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้คือเห็นว่ายิ่งรัฐศาสตร์ใช้วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับการแยกค่านิยมออกจากการเมืองมากเท่าใด นักรัฐศาสตร์ก็จะยิ่งห่างไกลจากการเมืองมากขึ้นเท่านั้น และจะทำให้นักรัฐศาสตร์มุ่งแต่ความสนใจที่จะศึกษาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่าที่จะมองปัญหาสำคัญ ๆ ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ นักรัฐศาสตร์จึงต้องให้ความสำคัญต่อค่านิยมในการพิจารณาตัดสินเรื่องการเมืองการปกครอง อันแตกต่างไปจากการศึกษาเชิงพฤติกรรมนิยมที่มุ่งแยกส่วนค่านิยมออกจากข้อเท็จจริง

ทฤษฎีการปฏิวัติแนวคลาสสิค (Classical Approach) ของคาร์ล มาร์กซ์

ทฤษฎีการปฏิวัติแนวคลาสสิค (Classical Approach) ของคาร์ล มาร์กซ์

ทฤษฏีว่าด้วยการปฏิวัติของมาร์กซ์อาจกล่าวได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ทรงพลังและมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมืองโดยตรง เนื่องจากทฤษฎีของมาร์กซ์ได้เชื่อมโยงสาเหตุและผลที่ ติดตามมาของการปฏิวัติเข้ากับการก่อกำเนิดขึ้นและความได้เปรียบของลัทธิทุนนิยม อย่างไรก็ตาม วิถีการปฏิบัติของมาร์กซ์จะไม่ค่อยสอดคล้องกับบรรดานักวิชาการร่วมสมัย เพราะมาร์กซ์ไม่ได้มุ่งสร้างทฤษฎีทั่วไป (General theory) ว่าด้วยการปฏิวัติที่สามารถจะนำไปใช้ได้กับทุกสังคมทุกรูปแบบในทุกช่วงเวลา แต่ตรงกันข้าม มาร์กซ์กลับมองว่า การปฏิวัติเป็นปรากฏการณ์เฉพาะรูปแบบที่เกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมทางประวัติศาสตร์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รวมทั้งรูปแบบสังคมหนึ่งๆ เท่านั้น [1]

ข้อสังเกตในทฤษฎีว่าด้วยการปฏิวัติของมาร์กซ์อีกประการคือ มาร์กซ์ ได้พัฒนาทฤษฎีโครงสร้างทางสังคม (Social-Structural theory) ที่โต้แย้งว่า ความเคลื่อนไหวที่มีการจัดการใดๆเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากการปฏิวัติ จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมี เหตุการณ์ของการปฏิวัติอย่างเป็นรูปธรรม (Objectively revolutionary situation) เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งในโครงสร้างทางสังคมขนาดใหญ่และสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ ข้อสังเกตอีกประการคือ มาร์กซ์ให้ความสำคัญกับการครอบงำทางชนชั้น (class domination) สำหรับแนวคิดของเขาในส่วนที่ว่าด้วยระเบียบทางสังคม (social order) และความขัดแย้งทาง ชนชั้น (class conflict) ก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่กำหนดคุณลักษณะของการปฏิวัติ [2]

ทฤษฎีของมาร์กซ์ในส่วนที่ว่าด้วยการปฏิวัติ ถูกร่างไว้ในผลงานชิ้นสำคัญคือ “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) มาร์กซ์บอกไว้ว่า การพัฒนา ผลิตผลในภาคอุตสาหกรรมได้ส่งผลให้ประชากรในสังคมอุตสาหกรรมแบ่งแยกออกเป็นสองชนชั้นหลักๆ คือชนชั้นกระฎุมพี (Bourgeoisie) กับชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat) ส่วนชนชั้นอื่นๆ นั้น จะเป็นชนชั้นที่หลงเหลือมาจากวิถีการผลิต (modes of production) ก่อนหน้าการพัฒนาสู่สังคมอุตสาหกรรม เช่น ชนชั้นชาวนา (Peasants) หรือมาจากช่วงเริ่มแรกของการพัฒนาสังคมสู่ระบอบทุนนิยม เช่น ช่างฝีมือ (craft artisans) หรือเจ้าของร้านค้าขนาดย่อม (small shopkeepers)

กลุ่มชนชั้นเหล่านี้ มีจุดร่วมกับชนชั้นกรรมาชีพอย่างหนึ่งคือความขัดแย้งกับชนชั้นกระฎุมพีในเรื่องของความพยายามปกป้องหรือพลิกผันพัฒนาการทางเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูสถานะของพวกเขา เนื่องจากชนชั้นเหล่านี้ถูกทำลายลงด้วยกระบวนการแข่งขันและการทำงานในระบอบทุนนิยม ทั้งการถูกบังคับให้ต้องสละซึ่งอิสระภาพและหันมาขายแรงงานเพื่อรับเงินเดือนเป็นค่าครองชีพ ดังนั้นภายใต้ระบอบทุนนิยมจึงเหลือเพียงแต่ชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่มีการพัฒนาต่อไปพร้อมๆ กับการเติบโตของระบบ การขยับขยายขึ้นของผลผลิตในสังคมทุนนิยม ยังได้กลายเป็นปัจจัยดึงดูดชนชั้นกรรมาชีพที่ขายแรงงานแลกกับเงินเข้าสู่โรงงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการสูญสิ้นไปของแรงงานฝีมือแบบดั้งเดิมจากระบบการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ส่วนผู้ใช้แรงงานเองก็ถูกทำให้กลายเป็นแค่ผู้ใช้งานเครื่องจักรโดยไม่จำเป็นต้องมีฝีมือ กระบวนการของระบอบ ทุนนิยมดังกล่าว ได้กลายเป็นสิ่งกระตุ้นให้ชนชั้นกรรมาชีพตระหนักถึงความเป็นชนชั้น พร้อมๆ กับความสิ้นหวังต่อสภาวะการณ์ของตัวเอง [3]

การที่ชนชั้นกรรมาชีพต้องแข่งขันกับเครื่องจักรและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ได้ก่อเกิดภาวะไร้เสถียรภาพขึ้นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและยังแผ่ขยายเข้าไปสู่เวทีการเมือง เช่นการเกิดสงครามกลางเมือง จนกระทั่งนำไปสู่การปฏิวัติ ซึ่งจะทำให้ชนชั้นแรงงานอันเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคม สามารถเข้าครอบครองโรงงานและร้านค้าต่างๆ แทนที่ชนชั้นนายทุน โดยพวกเขาจะมุ่งสร้างประโยชน์ที่ไม่ใช่ผลกำไร แต่จะเป็นผลประโยชน์ที่กระจายออกไปทั่วถึงทั้งสังคม [4]

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งเป็นการล่มสลายของชนชั้นกระฎุมพีและการมีชนชั้นกรรมาชีพที่ได้รับการพัฒนาขึ้นแล้ว (Developed proletariat) มาร์กซ์ยังได้ระบุถึงรัฐชาติที่มีลักษณะรวมศูนย์และถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน (centralized, homogenized nation-state) มาร์กซ์บอกว่ารัฐชาติดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ชนชั้นกระฎุมพีสร้างขึ้นเพื่อให้การเคลื่อนไหวของทุน แรงงานและสินค้า เป็นไปได้โดยง่ายทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเติบโตของตลาดและระบบการแบ่งงานกันทำ รัฐชาติรูปแบบนี้ถือได้ว่าเป็นการแสดงออกทางการเมือง (Political expression) ของชนชั้นกระฎุมพีผู้ครอบงำสังคม โดยมาร์กซ์ชี้ว่า ฝ่ายบริหารของรัฐก็คือ “คณะกรรมการจัดสรรผลประโยชน์ของพวกกระฎุมพี” (a committee for managing the affairs of the whole bourgeoisie) ส่วนอำนาจทางการเมือง (Political power) ก็คือ “พลังอำนาจที่ได้รับการจัดระบบอย่างดีของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเพื่อกดขี่ขูดรีดชนชั้นอื่นๆ” (the organized power of one class for oppressing another) ดังนั้น การปฏิวัติก็คือการแก่งแย่งอำนาจทางการเมืองของชนชั้นหนึ่งมาจากอีกชนชั้นหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นสูงสุดของกระบวนการทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (historico-economic process) ที่ก่อให้เกิดชนชั้นผู้ครอบงำชนชั้นใหม่ขึ้น [5]

มาร์กซ์อธิบายว่าชนชั้นกรรมาชีพและกระฎุมพีมีพัฒนาการขึ้นพร้อมกันใน อาณาบริเวณภายนอกของความสัมพันธ์แบบศักดินาสวามิภักดิ์ (feudal relation) ซึ่งก็คือสังคมเมือง แต่ชนชั้นกรรมาชีพกลับไม่ได้เป็นชนชั้นครอบงำในระบบความสัมพันธ์ทางชนชั้นที่เกิดขึ้นใหม่ภายในสังคมทุนนิยมแม้ว่าจะมีจำนวนมากกว่าก็ตาม มาร์กซ์เชื่อว่า ชัยชนะของชนชั้นกรรมาชีพจะไม่ก่อให้เกิดระบบความสัมพันธ์ทางชนชั้นขึ้นใหม่ แต่กลับจะช่วยสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากชนชั้น (Classless Society) [6] มาร์กซ์ชี้ว่าชนชั้นกรรมาชีพเป็น “ชนชั้นสากล” (universal class) ที่มีความสำนึกทางชนชั้น (class determination) ร่วมกัน โดยการปราศจากทรัพย์สินในครอบครองของชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นผลมาจากภาวะความลำบากยากจนภายใต้ระบอบทุนนิยม ได้กลายเป็นเหตุผลให้ชนชั้นนี้เป็นตัวแทนในการไถ่ถอนมนุษยชาติให้รอดพ้นจากการ ครอบงำทางชนชั้นได้ และเนื่องจากการแบ่งแยกทางชนชั้นเป็นผลโดยตรงมาจากการครอบครองทรัพย์สินส่วนบุคคล ดังนั้น สำหรับมาร์กซ์แล้ว การสร้างสังคมใหม่ที่มีฐานอยู่บนชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นชนชั้นที่ปราศจากทรัพย์สิน จึงน่าจะทำให้สังคมปลอดจากการแบ่งแยกทางชนชั้น ไม่เพียงเท่านั้นหากเป็นความจริงที่ว่า รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้นเพื่อคงบทบาทของชนชั้นปกครอง การที่ไม่ปรากฏภาวะความเป็นปรปักษ์ทางชนชั้นภายในสังคมก็จะช่วยนำไปสู่การดับสูญของรัฐ (the withering away of the state) ด้วยเช่นกัน [7]

ในทฤษฎีทั่วไปว่าด้วยการปฏิวัติที่ปรากฏอยู่ในแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์ ได้มีการสะท้อนทัศนคติของมาร์กซ์ต่อการจัดการกับรัฐ ประการแรก มาร์กซ์เห็นว่า การ ยึดครองอำนาจรัฐของชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นหลักประกันได้ว่า ชนชั้นกรรมาชีพจะกลายมาเป็นชนชั้นครอบงำแทนที่ชนชั้นกระฎุมพี และประการที่สอง การทำลายล้างรัฐจะช่วยขจัดความ
เป็นปรปักษ์ทางชนชั้นที่เป็นผลโดยตรงมาจากการครอบครองสินทรัพย์ส่วนบุคคล [8] ภายใต้แนวคิดเช่นนี้ การปฏิวัติจึงเกี่ยวข้องกับระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งแยกออกเป็นยุคสมัยซึ่งมีชนชั้นครอบงำที่แตกต่างและผันแปรไปตามวิถีการผลิต กล่าวคือ สังคมศักดินา (feudal) เป็นสังคมที่ เจ้าที่ดิน (landowner) เป็นชนชั้นครอบงำ และนายทุนก็เป็นชนชั้นครอบงำในสังคมทุนนิยม การเปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยหนึ่งไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่งจึงเกิดขึ้นจากการที่ชนชั้นทางเศรษฐกิจ ชนชั้นใหม่สามารถยึดอำนาจทางการเมืองมาจากชนชั้นครอบงำเดิมมาได้อย่างหมดจรดสมบูรณ์ผ่านการปฏิวัติ [9] ชนชั้นแต่ละชนชั้นที่เข้าครอบครองจะมีการใช้รูปแบบทางการเมืองของตัวเอง คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (monarchical absolutism) เป็นรูปแบบทางการเมืองของสังคมศักดินา ในขณะที่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) หรือระบอบ สาธารณรัฐแบบจำกัด (limited republicanism) ก็เป็นรูปแบบการปกครองของสังคมทุนนิยม

มาร์กซ์มักจะกล่าวถึงเสมอเกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ (fully democratic republic) และการปกครองระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ (dictatorship of the proletariat) อันเป็นระบอบการปกครองที่เกิดขึ้นหลังจากชัยชนะของชนชั้นกรรมาชีพ แต่การสถาปนาระบอบการปกครองเช่นนี้ได้จะต้องคำนึงถึงโครงสร้างทางสังคมของรัฐด้วยเช่นกัน ดังเช่นกรณีของอังกฤษ ที่เศรษฐกิจทุนนิยมได้บรรลุภารกิจทางประวัติศาสตร์ในการเปลี่ยนมวลชนให้กลายเป็นแรงงานรับจ้าง (wage laborers) [10] มาร์กซ์มองว่าสังคมอังกฤษ เป็นสังคมที่ระบอบทุนนิยมที่มีการพัฒนาสูงสุดจนก่อให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน (polarization) ระหว่างชนชั้นกระฎุมพีกับชนชั้นกรรมาชีพ ในขณะที่ชนชั้นชาวนา และช่างฝีมืออิสระล้วนแต่หายสาบสูญไป ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่นำไปสู่การปฏิวัติตามทฤษฎีของมาร์กซ์ เมื่อเทียบกับระบอบทุนนิยมภายในรัฐอื่นๆ ของภูมิภาคยุโรปที่ยังไม่มีพัฒนาการมากเพียงพอ ส่วนสถานการณ์ทางชนชั้นก็ยังไม่มีความเป็นระบบระเบียบเพียงพอ.

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

รัฐศาสตร์ เรียนอะไรกันบ้าง

            รัฐศาสตร์ เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับกระบวนการแบ่งปัน และถ่ายโอนอำนาจในกระบวนการตัดสินใจ เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอื่นๆแล้ว รัฐศาสตร์ ถูกจัดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราว และสถาบันที่เป็นสาธารณะ สาขานี้มักถูกแบ่งเป็นหลายๆด้าน เช่น รัฐศาสตร์ เปรียบเทียบ รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ปรัชญาทางรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ระดับชาติ รวมไปถึงระเบียบวิจัย นอกจากนั้นยังเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะสหวิทยาการ กล่าวคือต้องอาศัยศาสตร์หลายๆศาสตร์เข้ามาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายภาวะต่างๆทางสังคมที่เกิดขึ้น

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างวิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โครงสร้างวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะกรรมการอำนวยการ
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
คณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
รองคณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
สำนักงานเลขานุการฯ
สาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์
ศูนย์ศึกษาการเมืองท้องถิ่นอีสาน
ศูนย์ให้ความช่วยเหลือ
ทางกฏหมาย
ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี

ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

            วิทยาลัยการเมืองการปกครองเกิดจากการรวมระหว่างภาควิชารัฐศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเพื่อความเป็นเอกภาพของการบริหารงานอันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชนภาควิชารัฐศาสตร์ ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการเรียนการสอนในวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ คือวิชาสังคมกับกฎหมาย และรับผิดชอบวิชาในหมวดศึกษาทั่วไปเลือก คือวิชาการเมืองการปกครองไทย รวมทั้งวิชาเลือกเสรีหลายวิชา เช่น วิชาการปกครองท้องถิ่นวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วิชากฎหมายมหาชน และวิชาสำคัญอื่น ๆ


            จากการสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้รับการจัดตั้งขั้น โดยได้รับการอนุมัติจัดตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามในการประชุมครั้งที่ 6/2547 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 เป็นหน่วยงานใหม่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และได้มีการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้มีการเริ่มต้นพัฒนาการด้านการเรียนการสอนมาจนปัจจุบัน โดยมีการเปิดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้


1. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาการเมืองการปกครอง
2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ
3. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์
5. หลักสูตรคู่ขนาน (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)และศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)สาขาสิทธิมนุษยชนศึกษา

6. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) สาขาการปกครองท้องถิ่น
7. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชานโยบายสาธารณะ
8. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง



            แม้ว่าวิทยาลัยการเมืองการปกครอง จะมีอายุเพียง 7 ปี แต่ 7 ปีดังกล่าว เป็น 7 ปี ที่มีค่ายิ่งเป็น 7 ปีที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้น เป็น 7 ปีที่วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้วางรากฐานทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง เป็น 7 ปี ที่จิตวิญญาณวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้หลอมรวมตัวกันเป็น Spirit of COPAG โดยวิทยาลัยฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันในคณะ 17 คณะกรรมการ มีโครงการลงชุมชนของนิสิต โครงการติวนิสิต (Copag Tuter) โครงการให้นิสิตริเริ่มทำกิจการ (Copag Creative) การทำให้วิทยาลัยเป็นสีเขียว (Copag Green) ในทางวิชาการได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผู้แทนจากลักแซมเบิร์ก คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังได้ทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน จากการก้าวมาปีที่ 6วิทยาลัยได้จัดงานสถาปนาวิทยาลัยเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้วิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการโดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเรื่องสิทธิมนุษยชน การพัฒนาการเมืองการปกครองไทย สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และจริยธรรมกับการบริหารภาครัฐ ตลอดจนได้จัด Copag Open Houseและ Copag Open Book เพื่อเปิดบ้านวิทยาลัยให้บุคคลภายนอกได้ทราบกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัย และเปิดตัวหนังสือ 4 เล่ม 4 สาขา คือ การเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนิติศาสตร์ ทั้งหมดที่วิทยาลัยได้ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา แสดงถึงคำมั่นสัญญาของบุคลากรในการทำให้วิทยาลัยเป็น Copag ให้ได้ นั่นก็คือ


           CREATIVITY การสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจ และศักยภาพของนิสิต คณาจารย์ และบุคลากร ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
           OPTIMIZATION กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
            PRESTIGE ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ ที่เกิดจากบัณฑิตที่มีคุณภาพ และคณาจารย์มีศักยภาพ ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครองสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้อย่างภาคภูมิใจ
            ABILITY ความสามารถในการแข่งขันของวิทยาลัยการเมืองการปกครองและความสามารถของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สามารถก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคง
GENEROSITY วิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่บัณฑิตของวิทยาลัยการเมืองการกครองต้องเต็มไปด้วย ความมีใจกรุณา มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น และมีใจที่เป็นสาธารณะ ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจึงเป็นกิจกรรมเพื่อสาธารณะ



            จากปีที่ 7 ในปี 2553 สู่ปีที่ 8 ในปี 2554 วิทยาลัยได้สร้างค่านิยมร่วมดังกล่าว และได้ก้าวมาถึงการเป็นเจ้าภาพจัดงานรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 จากนี้ไปวิทยาลัยก็จะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อสร้างชื่อเสียงในระดับชาติและระดับภูมิภาค

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ตราสิงห์ประรัฐศาสตร์แต่ละมหาวิทยาลัย

สิงห์ดำ แทน รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิงห์แดง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิงห์เขียว แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


สิงห์เงิน แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


สิงห์ทอง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


สิงห์ม่วง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


สิงห์น้ำเงิน แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


สิงห์ไพร แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-เชียงใหม่


สิงห์ไพล แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่


สิงห์คราม แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


สิงห์แสด แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


สิงห์วรุณ แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


สิงห์ขาว แทน รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


สิงห์ฟ้า แทน รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


สิงห์พระนาง แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


สิงห์มอดินแดง แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


สิงห์สมุทร แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ


สิงห์เทา แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร




สำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคามตราสิงห์ประจำคือ สิงห์น้ำตาลค่ะ
อาจจะไม่ครบนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

คณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้น

ประวัติ

การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ขึ้น เพื่อฝึกหัดนักเรียนให้รับการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ขึ้น โดย "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" และโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และในที่สุดก็กลับมาจัดตั้งใหม่อีกครังในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ก็ได้เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ : นับเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี ข้อมูล ณ วันที่ 1 มี.ค. 54)
มหาวิทยาลัยของรัฐ ในภาพรวมแล้วนั้นการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยราชภัฎ การเรียนการสอนรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์มักเปิดในคณะรัฐศาสตร์ หรือคณะสังคมศาสตร์ หรือคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และจากภาพรวมแล้วมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครนคร และมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นมานาน จะมีการเรียนการสอนทั้งรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลับในเขตภูมิภาค หรือมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งใหม่มักมีการเรียนการสอนแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยคณะหลักสูตรรัฐศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคณะสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยนเรศวรคณะสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยบูรพาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิทยาลัยการเมืองการปกครองมีมี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสาขาวิชารัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่วิทยาลัยบริหารศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติสาขาวิชารัฐศาสตร์มีไม่มี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สำนักวิชาศิลปศาสตร์มีไม่มี
มหาวิทยาลัยพะเยาสำนักวิชาศิลปศาสตร์มีไม่มี
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นไม่มีมี
มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะวิทยาการจัดการไม่มีมี
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสำนักวิชาศิลปศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคณะสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยทักษิณคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาไม่มีมี



มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวมมหาวิทยาลัยราชภัฎจะไม่มีความแตกต่างหลากหลายในการจัดการเรียนการสอน กล่าวคือมีเพียงแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เป็นสาขาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพียง 4 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่มีการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎในภาคเหนือ 2 มหาวิทยาลัย ภาคอีสาน 1 มหาวิทยาลัย และภาคกลาง 1 มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยคณะหลักสูตรรัฐศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายคณะสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดวิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิภาควิชาศิลปศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี


มหาวิทยาลัยเอกชนมีการเรียนการสอนรัฐศาสตร์เพียง 3 มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นมีการเรียนการสอนรัฐประศาสนศาสตร์ ที่น่าสนใจคือมหาวิทยาลัยเอกชนมักมีคณะรัฐศาสตร์ แต่กลับไม่มีการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์ แต่กลับมีการเรียนการสอนในวิชารัฐประศาสนศาสตร์แทน
มหาวิทยาลัยคณะหลักสูตรรัฐศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกริกคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่คณะศิลปศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยปทุมธานีคณะรัฐศาสตร์มีไม่มี
มหาวิทยาลัยรังสิตสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นวิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่ายไม่มีมี
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพคณะศิลปศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยโยนกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นคณะบริหารรัฐกิจไม่มีมี
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียคณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาคณะรัฐศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีคณะรัฐศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยอีสานคณะศิลปศาสตร์ไม่มีมี
วิทยาลัยทองสุขคณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
วิทยาลัยพิชญบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ไม่มีมี
วิทยาลัยลุ่มน้ำปิงคณะรัฐศาสตร์ไม่มีมี

  • หมายเหตุ การนับในที่นี้ มี คือ มีวุฒิการศึกษาที่รับรองในหลักสูตรฯของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้ไม่ได้ลงรายละเอียดในวิชาต่างๆที่เปิดเรียนในหลักสูตร

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย

     การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


     จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก  คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ สิงห์ดำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา   รัฐศาสตร์ของไทย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือ สิงห์แดง  ส่วนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือสิงห์ทองของเรานั้น ในช่วงแรกเป็นสาขาวิชารัฐศาสตร์ในคณะนิติศาสตร์ ต่อมาภายหลังจึงแยกออกมาเป็นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างเต็มภาคถูมิ


คำว่า รัฐศาสตร์



     คำว่ารัฐศาสตร์ หากพิจารณาโดยแยกศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า “POLITICAL SCIENCE” เพื่อกำหนดความหมายพื้นฐานของรัฐศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ว่า “POLITICS” ซึ่งหมายความว่า การเมือง นั้น มีรากศัพท์มาจากคำว่า “polis” ในภาษากรีก หมายถึงนครรัฐ เป็นการจัดองค์กรทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่ได้บังเกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้ว ในขณะที่ “SCIENCE” ก็คือศาสตร์ หรือวิชาในการแสวงหาความรู้ รัฐศาสตร์ตามรากศัพท์นี้ จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือการสร้างบ้านเมือง หรือการสถาปนาชุมชน/เมืองขนาดใหญ่ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้คนใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยความสันติสุข


      นักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้ที่ได้ให้ความหมายของคำว่ารัฐศาสตร์ที่น่าสนใจพึงกล่าวถึงได้แก่ ยูเลา (Heinz Eulau 1963, 3) ซึ่งกล่าวว่า รัฐศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาว่าทำไมมนุษย์จึงคิดสร้างการปกครองมนุษย์ขึ้นมา


      เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 1-3) ให้นิยามของรัฐศาสตร์ว่าเป็น ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ (Science of the state) โดยเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ วิวัฒนาการของรัฐ และรัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกี่ยวกับองค์การปกครองหรือสถาบันทางการเมืองของรัฐ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธ์ของเอกชนหรือกลุ่มชนกับรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ตลอดจนจนแนวการศึกษาความคิดทางการเมืองอันมีอิทธิพลมหาศาลต่อความคิดของนักการเมืองเอกของโลก และต่อวิวัฒนาการของรัฐและการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองการปกครอง ในทำนองเดียวกัน จรูญ สุภาพ (2522, 1) ได้นิยามรัฐศาสตร์ว่าเป็น สาขาขององค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ (Social Science) ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐ ซึ่งกล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การจัดองค์กรทางการเมืองการปกครอง รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง และวิธีรดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ โดยความหมายดังนี้ รัฐศาสตร์ จึงเป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับ 3 สิ่งคือ รัฐ สถาบันทางการเมืองการปกครอง และแนวความคิดทางการเมืองการปกครอง


     มองลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับขอบข่ายเนื้อหาของการศึกษารัฐศาสตร์ เราจะได้นิยามความหมายของรัฐศาสตร์ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำเนิด การรวม การเปลี่ยนแปลง และความเสื่อมของชุมชนการเมืองทั้งหลาย ตอลดจนรูปแบบของการปกครอง กฎเกณฑ์และการปฏิบัติที่ชุมชนต่าง ๆ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือทำการตัดสินใจ รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ ที่ต่อกัน โดยเรื่องสำคัญ ๆ ที่ศึกษาได้แก่เรื่องความรุนแรง การปฏิวัติ การสงคราม ความสงบเรียบร้อย การปกครองแบบประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ การเลือกตั้ง การบริหาร หน้าที่พลเมือง การสรรหาผู้นำ ความปลอดภัยของชาติกับองค์การระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์กับพฤติกรรมทางการเมือง การกำหนดนโยบายสาธารณะ อุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของฝูงชน (Eulau and March 1975, 5)


     สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ (เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ 2508, 10) เห็นว่า รัฐศาสตร์คือ การศึกษาเกี่ยวกับรัฐ และวิธีการอันเหมาะสมที่สุด ในอันที่จะปฏิบัติตามวิชาการที่เกี่ยวกับรัฐ ขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์จึงรวมถึงส่วนประกอบทุกส่วนในความสัมพันธ์ภายในและภายนอกรัฐ


     ทินพันธ์ นาคะตะ (2541, 3) อธิบายว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งสำคัญ ต่าง ๆ ประกอบด้วย กำเนิดและลักษณะของรัฐ สถาบันการเมืองการปกครอง อำนาจ การตัดสินตกลงใจและนโยบายสาธารณะ ระบบการเมือง รวมทั้งการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจ และหาคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ บังเกิดขึ้น


     รัฐศาสตร์ในเชิงที่เป็นระเบียบการปกครอง อันแตกต่างไปจากคำว่า “การปกครอง” ที่หมายถึง ตัวกิจการที่ปฏิบัติ รัฐศาสตร์ในประการนี้จึงหมายความถึง ระบบของการปฏิบัติปกครอง โดยการจัดมาตรฐานและระเบียบภายในประชาคม (society) (เกษม อุทยานิน 2513, ข) ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ที่เป็นวิชาใหญ่ในบรรดาวิชาการว่าด้วยสังคมมนุษย์ (เกษม อุทยานิน 2513, ก)


     ความหมายของรัฐศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางของรัฐศาสตร์ ซึ่งผู้เรียบเรียงขอสรุปความหมายของรัฐศาสตร์โดยยึดความหมายดังที่ อานนท์ อาภาภิรม (2545, 2) ได้สรุปให้เห็นไว้ว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาและพัฒนาการของรัฐ (Origin and Development of the State )การอธิบาย การวิเคราะห์และการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญและรัฐบาล กระบวนการทางการเมือง (Political Process) ระบบกฎหมาย (Law System) บทบัญญัติของรัฐที่ใช้บังคับต่อปัจเจกชน (Individual) และกลุ่มคน (Groups) รวมไปถึงการศึกษาถึงองค์การและกิจกรรมของพรรคการเมือง (Political Parties) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและอุดมการณ์ระหว่างรัฐ การบัญญัติและการควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดยวิธีการของกฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) การกล่าวถึงนัยยะความหมายของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์อันมีคุณลักษณะในตัวที่เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้เห็นภาพส่วนประกอบของรัฐศาสตร์แล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานแก่ผู้ศึกษาที่จะทำความเข้าใจถึงขอบเขตของการศึกษา และโยงใยไปถึงแนวการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น