มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การบรรยายหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ที่มาวิทยาลัยมหาสารคาม

COPAG มหาวิทยาลัยมหาสารคามย่อมาจาก

ค่านิยมร่วมองค์กร (Shared Values)

            COPAG ย่อมาจาก College of Politics and Governance
C คือ
CREATIVITY การสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจ และศักยภาพของนิสิต คณาจารย์ และบุคลากร ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
O คือ OPTIMIZATION กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
P คือ PRESTIGE ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ ที่เกิดจากบัณฑิตที่มีคุณภาพ และคณาจารย์มีศักยภาพ ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครองสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้อย่างภาคภูมิใจ
A คือ ABILITY ความสามารถในการแข่งขันของวิทยาลัยการเมืองการปกครองและความสามารถของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สามารถก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคง
G คือ GENEROSITY วิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่บัณฑิตของวิทยาลัยการเมืองการกครองต้องเต็มไปด้วย ความมีใจกรุณา มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น และมีใจที่เป็นสาธารณะ ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจึงเป็นกิจกรรมเพื่อสาธารณะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

คณะรัฐศาสตร์ การปกครอง จบมาแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง

- รับราชการ (ได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม) และทำงานรัฐวิสาหกิจ (ทุกแห่ง)
- อาชีพอิสระ
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล

ทั้งหลายทั้งปวง ต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่เราต้องการด้วย เพราะสาขารัฐศาสตร์นั้นเอาไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางและหลากหลายมาก ดังนั้น จึงระบุได้เพียงกว้างๆ ว่าทำงานทางสายไหนได้บ้าง

**เป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งของคนไทยที่มักคิดว่า สาขารัฐศาสตร์นั้นเรียนไปเพื่อเป็นนักการเมือง ซึ่งไม่ใช่เลย เพราะรัฐศาสตร์นั้นเขาไม่ได้สอนวิธีการเป็นนักการเมือง ไม่ได้สอนวิธีเล่นการเมือง หรืออะไรก็ตามที่เราได้รับทราบกันตามสื่อสารมวลชนเลย หากแต่แก่นแท้ของรัฐศาสตร์นั้น คือ การศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง และเดี๋ยวนี้ยังขยายไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐ หรือที่เรียกว่ารัฐประศาสนศาสตร์อีกด้วย

แต่การเป็นนักการเมืองนั้นจะเรียนอะไรมาก็ได้ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคม ไม่จำกัดคุณวุฒิใดๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างของนักการเมืองหลายคนที่มีชื่อเสียงในขณะนี้ และไม่ได้เรียนทางรัฐศาสตร์ เช่น ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนปัจจุบัน ซึ่งเธอจบปริญญาเอกทางด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์จากประเทศอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม หากเราสุ่มรายชื่อนักการเมืองที่ยังโลดแล่นอยู่ในปัจจุบันนี้ขึ้นมาจะพบว่า โอกาสที่จะพบรายชื่อนักการเมืองที่เรียนมาทางรัฐศาสตร์มีเกินกว่า 50%

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

                        ปัจจุบัน
             การศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันมี 2 กระแส กระแสแรกคือสายที่ยังศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์ คือเชื่อมั่นว่าการศึกษาการเมืองผ่านตัวเลข และสถิติมีความมั่นคงเชื่อถือได้ ส่วนอีกกระแสคือสายที่พยายามกลับไปใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา รัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะสาขาวิชาที่เป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) สูงมากสาขาวิชาหนึ่งอย่างไรก็ตามจากการที่ความคิดตระกูลหลังสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อแวดวงวิชาการในทศวรรษที่ 1980 ทำให้วิชารัฐศาสตร์ก็หลีกหนีแนวนิยมนี้ไม่พ้น
             ปัจจุบันการศึกษารัฐศาตร์มิได้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ที่อธิบายสถาบัน และกระบวนการสร้างสถาบันทางการเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยความเข้าใจ “การเมือง” ที่เปลี่ยนแปรไป โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของตระกูลทางความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม (post – structuralism) หรือลัทธิหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดเรื่อง “เทคโนโลยีแห่งอำนาจ (technologies of power)” ของมิแชล ฟูโกต์ นักคิดชาวฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องอำนาจ และการศึกษาการเมือง ปัจจุบันการศึกษาการเมืองจึงไม่ต่างจากการศึกษาแทบทุกสิ่งทุกอย่างที่นักรัฐศาสตร์เห็นว่ามีปฏิบัติการณ์ทางอำนาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง “วินัย และ การลงโทษ : การกำเนิดขึ้นของเรือนจำ (Discipline and Punish: The Birth of the Prison)” ได้เสนอมุมมองใหม่ต่อสิ่งที่เรียกว่าการเมือง และอำนาจอย่างมหาศาล

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

                  สมัยใหม่ตอนปลาย (ราวศตวรรษ ที่ 19 - 20)
              เป็นยุคที่วิชา รัฐศาสตร์มีการศึกษาที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยศึกษา และเรียกการศึกษาการเมืองว่า "รัฐศาสตร์" (political science) เป็นครั้งแรก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนอยู่ในคณะประวัติศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ตราจารย์คนแรกของวิชารัฐศาสตร์คือฟรานซ์ ลีแบร์ (Francis Lieber) นักปรัชญาอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นศาตราจารย์ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
การศึกษาวิชาในยุควิทยาศาสตร์นี้ได้สร้างวิธีการศึกษาการเมืองขึ้นมา นั่นคือการศึกษาการเมืองผ่านการสร้าง ทฤษฎีการเมือง นักรัฐศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่านักทฤษฎีการเมืองจะมองว่าทฤษฎี คือเครื่องมือในการทำความเข้าในสภาพการเมืองโดยรวม ซึ่งผลิตผลของการศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าวจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์สร้างตัวแบบ (model) เพื่ออธิบายความจริง (fact) ที่เกิดขึ้น ในยุคนี้ยังเชื่อว่าการศึกษาการเมืองโดยใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเรื่องพ้นสมัย การศึกษาการเมืองในยุคนี้จึงเน้นศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง แล้วนำมาวัดประเมินค่าในเชิงคณิตศาสตร์และสถิติ จึงเรียนรัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรกว่า สำนักพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)
อย่างไรก็ตามในเวลาช่วง ทศวรรษที่ 1970 - 1980 นักรัฐศาสตร์จำนวนมากก็ตั้งข้อกังขาว่าการเมืองนั้นสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้หรือไม่ การถกเถียงดังกล่าวเกิดในวงวิชาการอเมริกัน อันนำไปสู่การปฏิวัติการศึกษาการเมืองที่พยายามดึงเอาปรัชญา และประวัติศาสตร์กลับมาอีกครั้ง เรียกว่านักรัฐศาสตร์สายหลังพฤติกรรมศาสตร์ (post-behavioralism)

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

               สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการถึงสมัยใหม่ตอนต้น (ราวศตวรรษ ที่ 13 - 19)
การปฏิวัติทางความคิดทางศาสนาคริสต์ การเติบโตขึ้นของแนวคิดมนุษย์นิยม (humanism) ทำให้การศึกษาการเมืองในยุคนี้มีการพูดถึงการเมืองของมนุษย์มากขึ้น โดยปรากฏชัดในงานเขียนเรื่อง "เจ้าผู้ปกครอง" (the prince) ของมาคิอาเวลลี ที่สอนการปกครองอย่างตรงไปตรงมา และในบางเรื่องดูจะโหดร้าย และน่ารังเกียจหากมองด้วยสายตาของผู้ที่เคร่งครัดในจารีตทางความเชื่อแบบมีศีลมีธรรมแบบยุโรป
               การปฏิวัติทางความคิดวิทยาศาสตร์ยุคแรก (the scientific revolution) ส่งผลให้ในยุโรปเกิดกระแสการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาการเมือง โดยปรากฏอย่างชัดเจนในงานเรื่อง เลอไวธัน (Levithan) ของ ฮอบส์ ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมว่าไม่ต่างจากระบบกลไล ที่รัฐคือองคาพยพใหญ่ และมนุษย์คือฟันเฟืองในขณะเดียวกันงานของรุสโซก็สร้างข้อถกเถียงที่สำคัญว่าการศึกษาการเมืองนั้นจะใช้วิทยาศาสตร์หรือปรัชญาดีอิทธิพลทางความคิดดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของแนวคิดทางการเมืองในยุคสมัยใหม่ตอนปลาย และช่วงสงครามเย็นนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล

                สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ ที่ 12 - 14)
จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมาจากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตา่งกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฏหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโร
                หลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีดโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฎิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)