มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างวิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โครงสร้างวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะกรรมการอำนวยการ
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
คณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
รองคณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
สำนักงานเลขานุการฯ
สาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์
ศูนย์ศึกษาการเมืองท้องถิ่นอีสาน
ศูนย์ให้ความช่วยเหลือ
ทางกฏหมาย
ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี

ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

            วิทยาลัยการเมืองการปกครองเกิดจากการรวมระหว่างภาควิชารัฐศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเพื่อความเป็นเอกภาพของการบริหารงานอันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชนภาควิชารัฐศาสตร์ ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการเรียนการสอนในวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ คือวิชาสังคมกับกฎหมาย และรับผิดชอบวิชาในหมวดศึกษาทั่วไปเลือก คือวิชาการเมืองการปกครองไทย รวมทั้งวิชาเลือกเสรีหลายวิชา เช่น วิชาการปกครองท้องถิ่นวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วิชากฎหมายมหาชน และวิชาสำคัญอื่น ๆ


            จากการสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้รับการจัดตั้งขั้น โดยได้รับการอนุมัติจัดตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามในการประชุมครั้งที่ 6/2547 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 เป็นหน่วยงานใหม่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และได้มีการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้มีการเริ่มต้นพัฒนาการด้านการเรียนการสอนมาจนปัจจุบัน โดยมีการเปิดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้


1. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาการเมืองการปกครอง
2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ
3. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์
5. หลักสูตรคู่ขนาน (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)และศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)สาขาสิทธิมนุษยชนศึกษา

6. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) สาขาการปกครองท้องถิ่น
7. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชานโยบายสาธารณะ
8. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง



            แม้ว่าวิทยาลัยการเมืองการปกครอง จะมีอายุเพียง 7 ปี แต่ 7 ปีดังกล่าว เป็น 7 ปี ที่มีค่ายิ่งเป็น 7 ปีที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้น เป็น 7 ปีที่วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้วางรากฐานทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง เป็น 7 ปี ที่จิตวิญญาณวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้หลอมรวมตัวกันเป็น Spirit of COPAG โดยวิทยาลัยฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันในคณะ 17 คณะกรรมการ มีโครงการลงชุมชนของนิสิต โครงการติวนิสิต (Copag Tuter) โครงการให้นิสิตริเริ่มทำกิจการ (Copag Creative) การทำให้วิทยาลัยเป็นสีเขียว (Copag Green) ในทางวิชาการได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผู้แทนจากลักแซมเบิร์ก คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังได้ทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน จากการก้าวมาปีที่ 6วิทยาลัยได้จัดงานสถาปนาวิทยาลัยเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้วิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการโดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเรื่องสิทธิมนุษยชน การพัฒนาการเมืองการปกครองไทย สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และจริยธรรมกับการบริหารภาครัฐ ตลอดจนได้จัด Copag Open Houseและ Copag Open Book เพื่อเปิดบ้านวิทยาลัยให้บุคคลภายนอกได้ทราบกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัย และเปิดตัวหนังสือ 4 เล่ม 4 สาขา คือ การเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนิติศาสตร์ ทั้งหมดที่วิทยาลัยได้ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา แสดงถึงคำมั่นสัญญาของบุคลากรในการทำให้วิทยาลัยเป็น Copag ให้ได้ นั่นก็คือ


           CREATIVITY การสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจ และศักยภาพของนิสิต คณาจารย์ และบุคลากร ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
           OPTIMIZATION กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
            PRESTIGE ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ ที่เกิดจากบัณฑิตที่มีคุณภาพ และคณาจารย์มีศักยภาพ ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครองสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้อย่างภาคภูมิใจ
            ABILITY ความสามารถในการแข่งขันของวิทยาลัยการเมืองการปกครองและความสามารถของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สามารถก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคง
GENEROSITY วิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่บัณฑิตของวิทยาลัยการเมืองการกครองต้องเต็มไปด้วย ความมีใจกรุณา มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น และมีใจที่เป็นสาธารณะ ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจึงเป็นกิจกรรมเพื่อสาธารณะ



            จากปีที่ 7 ในปี 2553 สู่ปีที่ 8 ในปี 2554 วิทยาลัยได้สร้างค่านิยมร่วมดังกล่าว และได้ก้าวมาถึงการเป็นเจ้าภาพจัดงานรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 จากนี้ไปวิทยาลัยก็จะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อสร้างชื่อเสียงในระดับชาติและระดับภูมิภาค

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ตราสิงห์ประรัฐศาสตร์แต่ละมหาวิทยาลัย

สิงห์ดำ แทน รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิงห์แดง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิงห์เขียว แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


สิงห์เงิน แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


สิงห์ทอง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


สิงห์ม่วง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


สิงห์น้ำเงิน แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


สิงห์ไพร แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-เชียงใหม่


สิงห์ไพล แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่


สิงห์คราม แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


สิงห์แสด แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


สิงห์วรุณ แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


สิงห์ขาว แทน รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


สิงห์ฟ้า แทน รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


สิงห์พระนาง แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


สิงห์มอดินแดง แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


สิงห์สมุทร แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ


สิงห์เทา แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร




สำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคามตราสิงห์ประจำคือ สิงห์น้ำตาลค่ะ
อาจจะไม่ครบนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

คณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้น

ประวัติ

การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ขึ้น เพื่อฝึกหัดนักเรียนให้รับการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ขึ้น โดย "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" และโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และในที่สุดก็กลับมาจัดตั้งใหม่อีกครังในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ก็ได้เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ : นับเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี ข้อมูล ณ วันที่ 1 มี.ค. 54)
มหาวิทยาลัยของรัฐ ในภาพรวมแล้วนั้นการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยราชภัฎ การเรียนการสอนรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์มักเปิดในคณะรัฐศาสตร์ หรือคณะสังคมศาสตร์ หรือคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และจากภาพรวมแล้วมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครนคร และมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นมานาน จะมีการเรียนการสอนทั้งรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลับในเขตภูมิภาค หรือมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งใหม่มักมีการเรียนการสอนแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยคณะหลักสูตรรัฐศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคณะสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยนเรศวรคณะสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยบูรพาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิทยาลัยการเมืองการปกครองมีมี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสาขาวิชารัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่วิทยาลัยบริหารศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติสาขาวิชารัฐศาสตร์มีไม่มี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สำนักวิชาศิลปศาสตร์มีไม่มี
มหาวิทยาลัยพะเยาสำนักวิชาศิลปศาสตร์มีไม่มี
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นไม่มีมี
มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะวิทยาการจัดการไม่มีมี
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสำนักวิชาศิลปศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคณะสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยทักษิณคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาไม่มีมี



มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวมมหาวิทยาลัยราชภัฎจะไม่มีความแตกต่างหลากหลายในการจัดการเรียนการสอน กล่าวคือมีเพียงแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เป็นสาขาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพียง 4 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่มีการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎในภาคเหนือ 2 มหาวิทยาลัย ภาคอีสาน 1 มหาวิทยาลัย และภาคกลาง 1 มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยคณะหลักสูตรรัฐศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายคณะสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดวิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิภาควิชาศิลปศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี


มหาวิทยาลัยเอกชนมีการเรียนการสอนรัฐศาสตร์เพียง 3 มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นมีการเรียนการสอนรัฐประศาสนศาสตร์ ที่น่าสนใจคือมหาวิทยาลัยเอกชนมักมีคณะรัฐศาสตร์ แต่กลับไม่มีการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์ แต่กลับมีการเรียนการสอนในวิชารัฐประศาสนศาสตร์แทน
มหาวิทยาลัยคณะหลักสูตรรัฐศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกริกคณะรัฐศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่คณะศิลปศาสตร์มีมี
มหาวิทยาลัยปทุมธานีคณะรัฐศาสตร์มีไม่มี
มหาวิทยาลัยรังสิตสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นวิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่ายไม่มีมี
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพคณะศิลปศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยโยนกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นคณะบริหารรัฐกิจไม่มีมี
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียคณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาคณะรัฐศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีคณะรัฐศาสตร์ไม่มีมี
มหาวิทยาลัยอีสานคณะศิลปศาสตร์ไม่มีมี
วิทยาลัยทองสุขคณะรัฐประศาสนศาสตร์ไม่มีมี
วิทยาลัยพิชญบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ไม่มีมี
วิทยาลัยลุ่มน้ำปิงคณะรัฐศาสตร์ไม่มีมี

  • หมายเหตุ การนับในที่นี้ มี คือ มีวุฒิการศึกษาที่รับรองในหลักสูตรฯของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้ไม่ได้ลงรายละเอียดในวิชาต่างๆที่เปิดเรียนในหลักสูตร

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย

ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย

     การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


     จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก  คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ สิงห์ดำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา   รัฐศาสตร์ของไทย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือ สิงห์แดง  ส่วนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือสิงห์ทองของเรานั้น ในช่วงแรกเป็นสาขาวิชารัฐศาสตร์ในคณะนิติศาสตร์ ต่อมาภายหลังจึงแยกออกมาเป็นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างเต็มภาคถูมิ


คำว่า รัฐศาสตร์



     คำว่ารัฐศาสตร์ หากพิจารณาโดยแยกศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า “POLITICAL SCIENCE” เพื่อกำหนดความหมายพื้นฐานของรัฐศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ว่า “POLITICS” ซึ่งหมายความว่า การเมือง นั้น มีรากศัพท์มาจากคำว่า “polis” ในภาษากรีก หมายถึงนครรัฐ เป็นการจัดองค์กรทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่ได้บังเกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้ว ในขณะที่ “SCIENCE” ก็คือศาสตร์ หรือวิชาในการแสวงหาความรู้ รัฐศาสตร์ตามรากศัพท์นี้ จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือการสร้างบ้านเมือง หรือการสถาปนาชุมชน/เมืองขนาดใหญ่ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้คนใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยความสันติสุข


      นักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้ที่ได้ให้ความหมายของคำว่ารัฐศาสตร์ที่น่าสนใจพึงกล่าวถึงได้แก่ ยูเลา (Heinz Eulau 1963, 3) ซึ่งกล่าวว่า รัฐศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาว่าทำไมมนุษย์จึงคิดสร้างการปกครองมนุษย์ขึ้นมา


      เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 1-3) ให้นิยามของรัฐศาสตร์ว่าเป็น ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ (Science of the state) โดยเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ วิวัฒนาการของรัฐ และรัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกี่ยวกับองค์การปกครองหรือสถาบันทางการเมืองของรัฐ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธ์ของเอกชนหรือกลุ่มชนกับรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ตลอดจนจนแนวการศึกษาความคิดทางการเมืองอันมีอิทธิพลมหาศาลต่อความคิดของนักการเมืองเอกของโลก และต่อวิวัฒนาการของรัฐและการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองการปกครอง ในทำนองเดียวกัน จรูญ สุภาพ (2522, 1) ได้นิยามรัฐศาสตร์ว่าเป็น สาขาขององค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ (Social Science) ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐ ซึ่งกล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การจัดองค์กรทางการเมืองการปกครอง รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง และวิธีรดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ โดยความหมายดังนี้ รัฐศาสตร์ จึงเป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับ 3 สิ่งคือ รัฐ สถาบันทางการเมืองการปกครอง และแนวความคิดทางการเมืองการปกครอง


     มองลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับขอบข่ายเนื้อหาของการศึกษารัฐศาสตร์ เราจะได้นิยามความหมายของรัฐศาสตร์ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำเนิด การรวม การเปลี่ยนแปลง และความเสื่อมของชุมชนการเมืองทั้งหลาย ตอลดจนรูปแบบของการปกครอง กฎเกณฑ์และการปฏิบัติที่ชุมชนต่าง ๆ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือทำการตัดสินใจ รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ ที่ต่อกัน โดยเรื่องสำคัญ ๆ ที่ศึกษาได้แก่เรื่องความรุนแรง การปฏิวัติ การสงคราม ความสงบเรียบร้อย การปกครองแบบประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ การเลือกตั้ง การบริหาร หน้าที่พลเมือง การสรรหาผู้นำ ความปลอดภัยของชาติกับองค์การระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์กับพฤติกรรมทางการเมือง การกำหนดนโยบายสาธารณะ อุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของฝูงชน (Eulau and March 1975, 5)


     สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ (เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ 2508, 10) เห็นว่า รัฐศาสตร์คือ การศึกษาเกี่ยวกับรัฐ และวิธีการอันเหมาะสมที่สุด ในอันที่จะปฏิบัติตามวิชาการที่เกี่ยวกับรัฐ ขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์จึงรวมถึงส่วนประกอบทุกส่วนในความสัมพันธ์ภายในและภายนอกรัฐ


     ทินพันธ์ นาคะตะ (2541, 3) อธิบายว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งสำคัญ ต่าง ๆ ประกอบด้วย กำเนิดและลักษณะของรัฐ สถาบันการเมืองการปกครอง อำนาจ การตัดสินตกลงใจและนโยบายสาธารณะ ระบบการเมือง รวมทั้งการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจ และหาคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ บังเกิดขึ้น


     รัฐศาสตร์ในเชิงที่เป็นระเบียบการปกครอง อันแตกต่างไปจากคำว่า “การปกครอง” ที่หมายถึง ตัวกิจการที่ปฏิบัติ รัฐศาสตร์ในประการนี้จึงหมายความถึง ระบบของการปฏิบัติปกครอง โดยการจัดมาตรฐานและระเบียบภายในประชาคม (society) (เกษม อุทยานิน 2513, ข) ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ที่เป็นวิชาใหญ่ในบรรดาวิชาการว่าด้วยสังคมมนุษย์ (เกษม อุทยานิน 2513, ก)


     ความหมายของรัฐศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางของรัฐศาสตร์ ซึ่งผู้เรียบเรียงขอสรุปความหมายของรัฐศาสตร์โดยยึดความหมายดังที่ อานนท์ อาภาภิรม (2545, 2) ได้สรุปให้เห็นไว้ว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาและพัฒนาการของรัฐ (Origin and Development of the State )การอธิบาย การวิเคราะห์และการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญและรัฐบาล กระบวนการทางการเมือง (Political Process) ระบบกฎหมาย (Law System) บทบัญญัติของรัฐที่ใช้บังคับต่อปัจเจกชน (Individual) และกลุ่มคน (Groups) รวมไปถึงการศึกษาถึงองค์การและกิจกรรมของพรรคการเมือง (Political Parties) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและอุดมการณ์ระหว่างรัฐ การบัญญัติและการควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดยวิธีการของกฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) การกล่าวถึงนัยยะความหมายของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์อันมีคุณลักษณะในตัวที่เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้เห็นภาพส่วนประกอบของรัฐศาสตร์แล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานแก่ผู้ศึกษาที่จะทำความเข้าใจถึงขอบเขตของการศึกษา และโยงใยไปถึงแนวการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น