มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

            วิทยาลัยการเมืองการปกครองเกิดจากการรวมระหว่างภาควิชารัฐศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเพื่อความเป็นเอกภาพของการบริหารงานอันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชนภาควิชารัฐศาสตร์ ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการเรียนการสอนในวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ คือวิชาสังคมกับกฎหมาย และรับผิดชอบวิชาในหมวดศึกษาทั่วไปเลือก คือวิชาการเมืองการปกครองไทย รวมทั้งวิชาเลือกเสรีหลายวิชา เช่น วิชาการปกครองท้องถิ่นวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วิชากฎหมายมหาชน และวิชาสำคัญอื่น ๆ


            จากการสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้รับการจัดตั้งขั้น โดยได้รับการอนุมัติจัดตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามในการประชุมครั้งที่ 6/2547 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 เป็นหน่วยงานใหม่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และได้มีการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้มีการเริ่มต้นพัฒนาการด้านการเรียนการสอนมาจนปัจจุบัน โดยมีการเปิดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้


1. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาการเมืองการปกครอง
2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ
3. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์
5. หลักสูตรคู่ขนาน (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)และศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)สาขาสิทธิมนุษยชนศึกษา

6. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) สาขาการปกครองท้องถิ่น
7. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชานโยบายสาธารณะ
8. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง



            แม้ว่าวิทยาลัยการเมืองการปกครอง จะมีอายุเพียง 7 ปี แต่ 7 ปีดังกล่าว เป็น 7 ปี ที่มีค่ายิ่งเป็น 7 ปีที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้น เป็น 7 ปีที่วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้วางรากฐานทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง เป็น 7 ปี ที่จิตวิญญาณวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ได้หลอมรวมตัวกันเป็น Spirit of COPAG โดยวิทยาลัยฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันในคณะ 17 คณะกรรมการ มีโครงการลงชุมชนของนิสิต โครงการติวนิสิต (Copag Tuter) โครงการให้นิสิตริเริ่มทำกิจการ (Copag Creative) การทำให้วิทยาลัยเป็นสีเขียว (Copag Green) ในทางวิชาการได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผู้แทนจากลักแซมเบิร์ก คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังได้ทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน จากการก้าวมาปีที่ 6วิทยาลัยได้จัดงานสถาปนาวิทยาลัยเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้วิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการโดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเรื่องสิทธิมนุษยชน การพัฒนาการเมืองการปกครองไทย สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และจริยธรรมกับการบริหารภาครัฐ ตลอดจนได้จัด Copag Open Houseและ Copag Open Book เพื่อเปิดบ้านวิทยาลัยให้บุคคลภายนอกได้ทราบกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัย และเปิดตัวหนังสือ 4 เล่ม 4 สาขา คือ การเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนิติศาสตร์ ทั้งหมดที่วิทยาลัยได้ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา แสดงถึงคำมั่นสัญญาของบุคลากรในการทำให้วิทยาลัยเป็น Copag ให้ได้ นั่นก็คือ


           CREATIVITY การสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจ และศักยภาพของนิสิต คณาจารย์ และบุคลากร ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
           OPTIMIZATION กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
            PRESTIGE ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ ที่เกิดจากบัณฑิตที่มีคุณภาพ และคณาจารย์มีศักยภาพ ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครองสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้อย่างภาคภูมิใจ
            ABILITY ความสามารถในการแข่งขันของวิทยาลัยการเมืองการปกครองและความสามารถของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ทำให้วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สามารถก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคง
GENEROSITY วิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่บัณฑิตของวิทยาลัยการเมืองการกครองต้องเต็มไปด้วย ความมีใจกรุณา มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น และมีใจที่เป็นสาธารณะ ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจึงเป็นกิจกรรมเพื่อสาธารณะ



            จากปีที่ 7 ในปี 2553 สู่ปีที่ 8 ในปี 2554 วิทยาลัยได้สร้างค่านิยมร่วมดังกล่าว และได้ก้าวมาถึงการเป็นเจ้าภาพจัดงานรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 จากนี้ไปวิทยาลัยก็จะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อสร้างชื่อเสียงในระดับชาติและระดับภูมิภาค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น